Datasets:

Modalities:
Text
Formats:
parquet
Languages:
Thai
Tags:
legal
Libraries:
Datasets
Dask
License:
title
stringlengths
8
870
text
stringlengths
0
298k
__index_level_0__
int64
0
54.3k
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2554 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการ
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12 /2554 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเข้าถือหลักทรัพย์ เพื่อครอบงํากิจการ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 247 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 248 มาตรา 255 และมาตรา 256 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “กิจการ” หมายความว่า บริษัทที่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ “ราคา” หมายความว่า สิ่งตอบแทนในการได้มาซึ่งหลักทรัพย์ทั้งในรูปตัวเงินและในรูปอื่นที่มิใช่ตัวเงิน “ราคาตลาดถัวเฉลี่ยถ่วงน้ําหนัก” หมายความว่า ผลรวมของมูลค่าการซื้อขายหุ้นในแต่ละวันระหว่างระยะเวลาที่กําหนด หารด้วยจํานวนหุ้นทั้งหมดที่ซื้อขายในระหว่างระยะเวลาเดียวกันนั้น “หลักทรัพย์แปลงสภาพ” หมายความว่า ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ หุ้นกู้แปลงสภาพ หรือหลักทรัพย์อื่นที่อาจแปลงสภาพแห่งสิทธิเป็นหุ้นได้ ที่กิจการเป็นผู้ออก เพื่อให้สิทธิซื้อหรือแปลงสภาพเป็นหุ้นของกิจการนั้นเอง “ที่ปรึกษาทางการเงิน” หมายความว่า ที่ปรึกษาทางการเงินที่อยู่ในบัญชีรายชื่อที่สํานักงานให้ความเห็นชอบ “คณะอนุกรรมการวินิจฉัยการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ” หมายความว่า คณะอนุกรรมการตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการแต่งตั้งและอํานาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการวินิจฉัยการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ “ตลาดหลักทรัพย์” หมายความว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย “ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ข้อความที่ได้สร้าง ส่ง รับ เก็บรักษา หรือประมวลผล ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ข้อ ๒ การทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ที่อยู่ภายใต้บังคับแห่งประกาศนี้ ได้แก่ (1) การทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามหน้าที่ภายหลังการได้มาหรือเป็นผู้ถือหุ้นในลักษณะที่กําหนดตามหมวด 1 (mandatory tender offer) (2) การทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการโดยสมัครใจ (voluntary tender offer) (3) การทําคําเสนอซื้อหุ้นบางส่วน (partial tender offer) ตามหมวด 5 (4) การทําคําเสนอซื้อเพื่อเพิกถอนหุ้นออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ตามหมวด 6 หมวด ๑ กรณีที่ต้องทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ และหลักทรัพย์ที่ต้องรับซื้อ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๓ บุคคลใดซื้อหรือกระทําการอื่นใดอันเป็นผลให้ตนได้มาซึ่งหุ้นหรือเป็นผู้ถือหุ้นของกิจการใด ณ สิ้นวันใดวันหนึ่ง ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งตามที่กําหนดในข้อ 4 ข้อ 5 หรือข้อ 6 บุคคลนั้นต้องทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการนั้น ตามหลักเกณฑ์ ที่กําหนดในประกาศนี้ เว้นแต่จะเข้ากรณีที่ได้รับยกเว้นตามหมวด 2 ข้อ ๔ บุคคลใดซื้อหรือกระทําการอื่นใดอันเป็นผลให้ตนได้มาซึ่งหุ้นหรือเป็นผู้ถือหุ้นของกิจการใด ณ สิ้นวันใดวันหนึ่งเพิ่มขึ้นจนถึงหรือข้ามจุดดังต่อไปนี้ บุคคลนั้นต้องทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ (1) ร้อยละยี่สิบห้าของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ (2) ร้อยละห้าสิบของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ (3) ร้อยละเจ็ดสิบห้าของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ ในกรณีที่กิจการมีการซื้อหุ้นคืน และยังมิได้จําหน่ายหรือตัดหุ้นที่ซื้อคืนมานั้นออกจากหุ้นจดทะเบียนชําระแล้ว ในการคํานวณสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ ให้หักสิทธิออกเสียงของหุ้นที่กิจการซื้อคืนและยังคงค้างอยู่ ณ วันสิ้นเดือนของเดือนก่อนเดือนที่มีการได้มาในครั้งนั้น ออกจากฐานในการคํานวณ ข้อ ๕ ในกรณีที่กิจการมีการซื้อหุ้นคืน และเป็นผลให้บุคคลใดเป็นผู้ถือหุ้นในกิจการนั้นเพิ่มขึ้นจนถึงหรือข้ามจุดที่ต้องทําคําเสนอซื้อตามข้อ 4 บุคคลดังกล่าวต้องทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ หากในเวลาต่อมาบุคคลนั้นได้มาซึ่งหุ้นของกิจการเพิ่มขึ้นอีกไม่ว่าในจํานวนใด ๆ โดยเป็นการได้มาเพิ่มขึ้นในขณะที่และยังคงเป็นผลให้บุคคลนั้นเป็นผู้ถือหุ้นของกิจการข้ามจุดที่ต้องทําคําเสนอซื้อ ข้อ ๖ บุคคลใดเข้ามามีอํานาจควบคุมอย่างมีนัยสําคัญในนิติบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นของกิจการอยู่ก่อนแล้ว (chain principle) ไม่ว่าการมีอํานาจควบคุมนั้นจะเกิดขึ้นโดยทางตรงหรือโดยทางอ้อมผ่านการถือหุ้นหรือการควบคุมในนิติบุคคลอื่นเป็นทอด ๆ จนถึงนิติบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นของกิจการ บุคคลนั้นต้องทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการหากเข้าลักษณะดังต่อไปนี้ (1) การเข้ามามีอํานาจควบคุมในนิติบุคคลดังกล่าวทําให้เมื่อนับรวมจํานวนหุ้นที่ถือโดยบุคคลดังกล่าว นิติบุคคลในทุกทอดตลอดสายจนถึงนิติบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นของกิจการ และบุคคลตามมาตรา 258 ของบุคคลเหล่านั้นแล้ว มีจํานวนถึงหรือข้ามจุดที่ต้องทําคําเสนอซื้อตามข้อ 4 (2) การเข้ามามีอํานาจควบคุมในนิติบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นของกิจการนั้น ให้รวมถึง (ก) การถือหุ้นและมีสิทธิออกเสียงตั้งแต่ร้อยละห้าสิบขึ้นไปของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของนิติบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นของกิจการ (ในกรณีที่เป็นอํานาจควบคุมทางตรง) หรือของนิติบุคคลที่ถูกถือหุ้นต่อกันในแต่ละทอดทุกทอดตลอดสายจนถึงนิติบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นในกิจการ (ในกรณีที่เป็นอํานาจควบคุมทางอ้อม) หรือ (ข) การส่งบุคคลหรือมีพฤติกรรมในการส่งบุคคลเข้าเป็นกรรมการในจํานวนที่มีนัยสําคัญเพื่อควบคุมการบริหารงานหรือการดําเนินงานของนิติบุคคลหรือของกิจการ เพื่อประโยชน์ตามวรรคหนึ่ง ให้นับรวมจํานวนหุ้นทั้งหมดที่ออกโดยกิจการและถือโดยบุคคลตามวรรคหนึ่ง นิติบุคคลในทุกทอด (ถ้ามี) จนถึงนิติบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นของกิจการ และบุคคลตามมาตรา 258 ของบุคคลเหล่านั้น เป็นหุ้นของบุคคลในกลุ่มเดียวกัน ตลอดระยะเวลาที่บุคคลดังกล่าวยังคงมีอํานาจควบคุมในนิติบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นของกิจการ ข้อ ๗ ให้หลักทรัพย์ดังต่อไปนี้เป็นหลักทรัพย์ที่ต้องเสนอซื้อในกรณีที่เป็นการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ (1) หุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธิที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกิจการ แต่ไม่รวมถึงหุ้นที่กิจการได้ซื้อคืนมาแล้ว และยังมิได้จําหน่ายหรือตัดออกจากหุ้นจดทะเบียนชําระแล้ว (2) ใบสําคัญแสดงสิทธิทั้งหมดที่ออกโดยกิจการเพื่อให้สิทธิซื้อหุ้นของกิจการนั้นเอง ไม่ว่าจะเป็นใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น หรือใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ เว้นแต่ใบสําคัญแสดงสิทธิที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (ก) ใบสําคัญแสดงสิทธิที่ราคาใช้สิทธิซื้อหุ้นตามใบสําคัญแสดงสิทธินั้นเท่ากับหรือสูงกว่าราคาเสนอซื้อหุ้นประเภทเดียวกับที่จะได้จากการใช้สิทธิดังกล่าว และบุคคลดังกล่าวไม่เคยได้มาซึ่งใบสําคัญแสดงสิทธินั้นโดยมีค่าตอบแทนในระหว่างระยะเวลาเก้าสิบวันก่อนวันที่ยื่นคําเสนอซื้อต่อสํานักงาน (ข) ใบสําคัญแสดงสิทธิที่ระยะเวลาการใช้สิทธิครั้งสุดท้ายสิ้นสุดลงก่อนหรือในวันเดียวกับวันสิ้นสุดระยะเวลารับซื้อตามคําเสนอซื้อ (ค) ใบสําคัญแสดงสิทธิที่มีการกําหนดเงื่อนไขจํากัดบุคคลผู้ใช้สิทธิ ซึ่งเป็นผลให้ผู้ทําคําเสนอซื้อไม่อาจใช้สิทธิตามใบสําคัญแสดงสิทธิดังกล่าวได้ (3) หุ้นกู้แปลงสภาพทั้งหมดที่ออกโดยกิจการและอาจแปลงสภาพเป็นหุ้นของกิจการนั้นเอง เว้นแต่หุ้นกู้แปลงสภาพที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (ก) หุ้นกู้แปลงสภาพที่ราคาแปลงสภาพเมื่อคํานวณจากอัตราการแปลงสภาพของหุ้นกู้แปลงสภาพนั้น เท่ากับหรือสูงกว่าราคาเสนอซื้อหุ้นประเภทเดียวกับที่จะได้จากการแปลงสภาพนั้น และบุคคลดังกล่าวไม่เคยได้มาซึ่งหุ้นกู้แปลงสภาพนั้นโดยมีค่าตอบแทนในระหว่างระยะเวลาเก้าสิบวันก่อนวันที่ยื่นคําเสนอซื้อต่อสํานักงาน (ข) หุ้นกู้แปลงสภาพที่ระยะเวลาการใช้สิทธิครั้งสุดท้ายสิ้นสุดลงก่อนหรือในวันเดียวกับวันสิ้นสุดระยะเวลารับซื้อตามคําเสนอซื้อ (ค) หุ้นกู้แปลงสภาพที่ชําระดอกเบี้ยและเงินต้นเป็นเงินตราต่างประเทศ (4) หุ้นที่จะได้มาจากการใช้สิทธิตามหลักทรัพย์ที่อาจแปลงสภาพแห่งสิทธิเป็นหุ้นได้ ซึ่งผู้ถือหลักทรัพย์แต่ละประเภทนั้นได้ใช้สิทธิในการซื้อหรือแปลงสภาพแล้วก่อนสิ้นสุดระยะเวลารับซื้อตามคําเสนอซื้อ หมวด ๒ กรณีที่ได้รับยกเว้นการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ ข้อ ๘ บุคคลที่ได้มาหรือเป็นผู้ถือหุ้นของกิจการใดจนถึงหรือข้ามจุดที่ต้องทําคําเสนอซื้อตามข้อ 4 จะได้รับยกเว้นการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการนั้นเมื่อเข้ากรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) ที่มาของการได้มาหรือลักษณะของบุคคลที่ได้มาเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 9 (2) มีการลดสัดส่วนการถือหุ้นหรือลดการมีอํานาจควบคุมตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 10 (3) เป็นการได้มาตามที่ได้รับผ่อนผันตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 11 (4) เป็นการได้มาตามที่ได้รับผ่อนผันให้ทําคําเสนอซื้อหุ้นบางส่วน (partial tender offer) ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในหมวด 5 ข้อ ๙ เมื่อที่มาของการได้มาซึ่งหุ้นหรือลักษณะของบุคคลที่ได้มาซึ่งหุ้นเข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้บุคคลที่ได้หุ้นมาดังกล่าวได้รับยกเว้นการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ (1) การได้มาโดยทางมรดก หรือโดยการใช้สิทธิซื้อหรือแปลงสภาพตามหลักทรัพย์ แปลงสภาพที่ได้มาทางมรดก (2) การได้มาเนื่องจากกิจการจ่ายหุ้นปันผล หรือโดยการใช้สิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุนตามส่วนจํานวนหุ้นที่ตนมีอยู่ (right offer) ทั้งนี้ ไม่ว่าเพื่อประโยชน์ในการใช้สิทธินั้น กิจการจะมีการออกใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ ให้แก่ผู้ถือหุ้นด้วยหรือไม่ก็ตาม (3) การได้มาเนื่องจากการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ หรือจากการใช้สิทธิซื้อหรือแปลงสภาพตามหลักทรัพย์แปลงสภาพที่ได้มาจากการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ ตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้ ทั้งนี้ ไม่ว่าการทําคําเสนอซื้อดังกล่าวจะกระทําโดยสมัครใจหรือเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามหน้าที่ตามข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ (4) การได้มาโดยบุคคลดังต่อไปนี้ ซึ่งมีข้อกําหนดที่แสดงว่าโดยปกติจะไม่ใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนในที่ประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการ (ก) กองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าว (Thai Trust Fund) (ข) บริษัทที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยการเสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยโดยบริษัทย่อยของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งบริษัทดังกล่าวถือหุ้นของกิจการเพื่อรองรับภาระผูกพันที่คงค้างอยู่ตามหลักทรัพย์นั้น ข้อ ๑๐ ให้บุคคลที่ได้มาหรือเป็นผู้ถือหุ้นจนถึงหรือข้ามจุดที่ต้องทําคําเสนอซื้อตามข้อ 4 ได้รับยกเว้นการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ หากภายหลังจากการได้มานั้นบุคคลดังกล่าวได้ลดสัดส่วนการถือหุ้นหรือลดการมีอํานาจควบคุมในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่เป็นการได้มาซึ่งหุ้นในกิจการโดยตรง ผู้ได้มาได้ดําเนินการดังต่อไปนี้ (ก) ลดสัดส่วนการถือหุ้นของกิจการดังกล่าวลงให้ต่ํากว่าจุดที่ต้องทําคําเสนอซื้อตามข้อ 4 ภายในเจ็ดวันทําการนับแต่วันที่มีหน้าที่ต้องยื่นรายงานการได้มาซึ่งหุ้นตามแบบ 246-2 ต่อสํานักงาน โดยการขายหุ้นของกิจการบนกระดานหลักของตลาดหลักทรัพย์ หรือโอนหุ้นดังกล่าวคืนให้กับบุคคลที่ตนรับโอนหุ้นมา และ (ข) งดเว้นการใช้สิทธิออกเสียงในกิจการสําหรับหุ้นในส่วนที่ต้องลดสัดส่วนตาม (ก) เพื่อให้ถือหุ้นในกิจการต่ํากว่าจุดที่ต้องทําคําเสนอซื้อ (2) ในกรณีที่เป็นการได้มาโดยการเข้ามามีอํานาจควบคุมอย่างมีนัยสําคัญในนิติบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นของกิจการอยู่ก่อนแล้ว (chain principle) ผู้ได้มาได้ดําเนินการดังต่อไปนี้ (ก) ลดสัดส่วนการถือหุ้นหรือลดการมีอํานาจควบคุมโดยวิธีใดวิธีหนึ่งดังต่อไปนี้ ภายในเจ็ดวันทําการนับแต่วันที่มีหน้าที่ต้องยื่นรายงานการได้มาซึ่งหุ้นตามแบบ 246-2 ต่อสํานักงาน 1. ลดสัดส่วนการถือหุ้นของกิจการตามวิธีการที่กําหนดใน (1) (ก) 2. ลดสัดส่วนการถือหุ้นหรือลดการมีอํานาจควบคุมในนิติบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นของกิจการจนทําให้ไม่มีลักษณะตามที่กําหนดในข้อ 6(2) ในกรณีที่เป็นการลดสัดส่วนการถือหุ้นในนิติบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นของกิจการหรือลดสัดส่วนการถือหุ้นในนิติบุคคลในทอดใด ๆ ก่อนถึงนิติบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นของกิจการผู้รับโอนหุ้นของนิติบุคคลดังกล่าวต้องมิใช่บุคคลตามมาตรา 258 ของผู้ได้มา หรือของนิติบุคคลในทอดใด ๆ ที่มีความสัมพันธ์กับผู้ได้มาตามข้อ 6(2) (ข) งดเว้นการใช้สิทธิออกเสียงในกิจการสําหรับหุ้นในส่วนที่ต้องลดสัดส่วนตาม (ก) เพื่อให้ถือหุ้นในกิจการต่ํากว่าจุดที่ต้องทําคําเสนอซื้อ ไม่ว่าจะเป็นการใช้สิทธิออกเสียงโดยผู้ได้มา นิติบุคคลในทอดใด ๆ ที่มีความสัมพันธ์กับผู้ได้มาตามข้อ 6(2) หรือบุคคลตามมาตรา 258 ของบุคคลดังกล่าว ให้ผู้ได้มาดําเนินการเปิดเผยข้อมูลในการลดสัดส่วนการถือหุ้นหรือลดการมีอํานาจควบคุมในนิติบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นของกิจการ ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) แสดงเจตนาไว้ในรายงานการได้มาซึ่งหุ้นตามแบบ 246-2 ไว้อย่างชัดเจนว่าจะลดสัดส่วนการถือหุ้นลงให้ต่ํากว่าจุดที่ต้องทําคําเสนอซื้อหรือลดการมีอํานาจควบคุมจนทําให้ไม่มีลักษณะตามที่กําหนดในข้อ 6(2) และจะไม่ใช้สิทธิออกเสียงในกิจการสําหรับหุ้นในส่วนที่ต้องลดสัดส่วนตาม (ก) เพื่อให้ถือหุ้นในกิจการต่ํากว่าจุดที่ต้องทําคําเสนอซื้อ (2) มีหนังสือแจ้งรายละเอียดการลดสัดส่วนการถือหุ้นหรือลดการมีอํานาจควบคุมต่อสํานักงานภายในวันทําการถัดจากวันที่ดําเนินการดังกล่าว ในกรณีที่มีเหตุจําเป็นและสมควร เมื่อได้รับคําร้องขอจากผู้ได้มาก่อนสิ้นสุดระยะเวลาที่กําหนดในวรรคหนึ่ง (1) (ก) หรือ (2) (ก) สํานักงานอาจผ่อนผันระยะเวลาหรือวิธีการลดสัดส่วนการถือหุ้นเป็นประการอื่นได้ ในกรณีที่เป็นการลดสัดส่วนการถือหุ้นโดยการโอนหุ้นดังกล่าวคืนให้กับบุคคลที่ตนรับโอนหุ้นมา หากการดําเนินการดังกล่าวทําให้ผู้ที่รับโอนหุ้นคืนมานั้น เป็นผู้ถือหุ้นจนถึงหรือข้ามจุดที่ต้องทําคําเสนอซื้อจุดเดิมก่อนที่จะมีการโอนหุ้นดังกล่าวออกไป ให้ผู้ถือหุ้นที่รับโอนหุ้นคืนมานั้นได้รับยกเว้นการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ ข้อ ๑๑ ให้บุคคลที่ประสงค์จะได้มาหรือเป็นผู้ถือหุ้นของกิจการจนถึงหรือข้ามจุดที่ต้องทําคําเสนอซื้อตามข้อ 4 ได้รับยกเว้นไม่ต้องทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ หากก่อนการซื้อหรือกระทําการอื่นใดอันเป็นผลให้ได้มาหรือเป็นผู้ถือหุ้นของกิจการจนถึงหรือข้ามจุดดังกล่าว บุคคลนั้นได้ยื่นคําขอผ่อนผันต่อสํานักงาน หรือต่อคณะอนุกรรมการวินิจฉัยการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการผ่านสํานักงาน โดยชําระค่าธรรมเนียมตามที่กําหนดไว้ในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ และคําขอดังกล่าวได้รับการผ่อนผันจากสํานักงานหรือคณะอนุกรรมการวินิจฉัยการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการแล้ว แล้วแต่กรณี โดยในกรณีที่มีเหตุผลสมควร การผ่อนผันอาจระบุเงื่อนไขที่ผู้ได้มาต้องปฏิบัติด้วยก็ได้ คําขอผ่อนผันกรณีดังต่อไปนี้ ให้อยู่ในอํานาจพิจารณาของสํานักงาน (1) การได้มาจะไม่มีผลเปลี่ยนแปลงอํานาจในการควบคุมกิจการ (2) การได้มาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือหรือฟื้นฟูกิจการ (3) การได้มาซึ่งหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ และที่ประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการมีมติให้ออกหลักทรัพย์ดังกล่าวให้แก่บุคคลนั้นโดยไม่ต้องทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ (whitewash) ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่สํานักงานกําหนด (4) กรณีอื่นใดซึ่งคณะอนุกรรมการวินิจฉัยการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการได้มีแนววินิจฉัยเป็นบรรทัดฐานไว้แล้ว (5) กรณีมีเหตุจําเป็นและสมควรประการอื่น คําขอผ่อนผันกรณีดังต่อไปนี้ ให้อยู่ในอํานาจพิจารณาของคณะอนุกรรมการวินิจฉัยการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ (1) การได้มาซึ่งอํานาจควบคุมอย่างมีนัยสําคัญในนิติบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นของกิจการ (chain principle) มิได้มีวัตถุประสงค์สําคัญเพื่อการครอบงํากิจการ (2) กรณีอื่นที่สํานักงานเห็นว่าควรได้รับการพิจารณาโดยคณะอนุกรรมการวินิจฉัยการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ บุคคลที่ได้รับผ่อนผันตามวรรคหนึ่ง ต้องดําเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งหุ้นของกิจการภายในหกเดือนนับแต่วันที่ได้รับผ่อนผัน หากพ้นระยะเวลาดังกล่าวแล้วให้การผ่อนผันเป็นอันสิ้นสุดลง หมวด ๓ การประกาศต่อสาธารณชน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๒ บุคคลใดประกาศโดยวิธีใดวิธีหนึ่งดังต่อไปนี้ ว่าจะทําคําเสนอซื้อหุ้นของกิจการใดจนถึงหรือข้ามจุดที่ต้องทําคําเสนอซื้อ โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อผู้ทําคําเสนอซื้อ จํานวนหุ้นหรือจํานวนสิทธิออกเสียงของหุ้นที่จะเสนอซื้อ ไม่ว่าจะเป็นการระบุจํานวนโดยแน่นอนหรือโดยประมาณ ให้ถือว่าบุคคลนั้นได้ประกาศต่อสาธารณชนว่าจะเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ (1) แถลงหรือโฆษณาผ่านสื่อมวลชน หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือโครงข่ายสื่อสารประเภทอื่นใด ในลักษณะที่เป็นการกระจายข้อมูลในวงกว้าง (2) แจ้งต่อกรรมการหรือผู้จัดการของกิจการนั้น (3) แจ้งต่อผู้ถือหุ้นรายหนึ่งหรือหลายรายซึ่งมีสิทธิออกเสียงรวมกันตั้งแต่ร้อยละสิบขึ้นไปของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการนั้น (4) แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ (5) แจ้งต่อสํานักงาน ข้อ ๑๓ ให้บุคคลที่ประกาศต่อสาธารณชนว่าจะเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ ดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ยื่นประกาศเจตนาในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการตามแบบ 247-3 ต่อสํานักงานภายในสามวันทําการนับแต่วันที่ประกาศต่อสาธารณชน เว้นแต่บุคคลนั้นจะได้ยื่นคําเสนอซื้อตามแบบ 247-4 ต่อสํานักงานภายในระยะเวลาดังกล่าวแล้ว (2) ยื่นคําเสนอซื้อตามแบบ 247-4 ต่อสํานักงานภายในเจ็ดวันทําการนับแต่วันที่ต้องยื่นประกาศเจตนาในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ หรือภายในระยะเวลาที่ได้รับการผ่อนผันจากสํานักงาน ในกรณีที่บุคคลดังกล่าวไม่สามารถดําเนินการตามกรณีใดในวรรคหนึ่งได้ และมิใช่เป็นกรณีที่ต้องทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการตามข้อ 3 ให้บุคคลนั้นยื่นประกาศปฏิเสธการทําคําเสนอซื้อตามแบบ 247-5 ต่อสํานักงานภายในระยะเวลาที่กําหนดสําหรับแต่ละกรณีนั้น ตามวรรคหนึ่งแทน ให้บุคคลตามข้อนี้ส่งสําเนาแบบ 247-3 หรือแบบ 247-5 ให้แก่ตลาดหลักทรัพย์ด้วย ข้อ ๑๔ ในกรณีที่บุคคลซึ่งประกาศต่อสาธารณชนว่าจะเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการตามข้อ 12 ได้ประกาศเงื่อนไขก่อนการทําคําเสนอซื้อ บุคคลดังกล่าวยังไม่ต้องปฏิบัติตามข้อ 13 จนกว่าเงื่อนไขได้สําเร็จลง และในกรณีเช่นว่านี้ ให้นับวันทําการถัดจากวันที่เงื่อนไขสําเร็จลง เป็นวันเริ่มต้นการนับระยะเวลาในการปฏิบัติตามข้อ 13 ในกรณีที่เงื่อนไขไม่สําเร็จหรือเมื่อพ้นกําหนดเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่ประกาศต่อสาธารณชนว่าจะเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ ให้บุคคลดังกล่าวยื่นประกาศปฏิเสธการทําคําเสนอซื้อตามแบบ 247-5 ต่อสํานักงานภายในสามวันทําการนับแต่วันที่เงื่อนไขไม่สําเร็จหรือวันครบกําหนดเวลาดังกล่าว แล้วแต่เวลาใดจะถึงก่อน ข้อ ๑๕ ห้ามมิให้บุคคลที่ยื่นประกาศปฏิเสธการทําคําเสนอซื้อตามข้อ 13 วรรคสอง หรือข้อ 14 วรรคสอง ทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์หรือกระทําการอื่นใดอันเป็นผลให้ต้องทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการนั้น เป็นระยะเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่ยื่นประกาศปฏิเสธการทําคําเสนอซื้อ ในกรณีที่บุคคลซึ่งต้องยื่นประกาศปฏิเสธการทําคําเสนอซื้อ ไม่ยื่นประกาศดังกล่าวภายในระยะเวลาที่กําหนดตามข้อ 13 วรรคสอง หรือข้อ 14 วรรคสอง แล้วแต่กรณี ห้ามมิให้บุคคลดังกล่าวทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์หรือกระทําการอื่นใดอันเป็นผลให้ต้องทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการนั้น เป็นระยะเวลาสองปีนับแต่วันสุดท้ายที่อาจยื่นประกาศปฏิเสธการทําคําเสนอซื้อ ข้อ ๑๖ ในกรณีที่เงื่อนไขก่อนการทําคําเสนอซื้อตามข้อ 14 วรรคหนึ่งไม่อาจสําเร็จลงได้ เนื่องจากเหตุปัจจัยที่อยู่นอกเหนือความควบคุมของบุคคลซึ่งประกาศต่อสาธารณชนว่าจะเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ มิให้นําข้อห้ามในการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ตามข้อ 15 วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับกับบุคคลที่ยื่นประกาศปฏิเสธการทําคําเสนอซื้อภายในระยะเวลาที่กําหนดตามข้อ 14 วรรคสองเนื่องจากเหตุดังกล่าว หมวด ๔ การทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ของกิจการ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ส่วน ๑ คําเสนอซื้อหลักทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๑๗ เมื่อบุคคลใดได้มาหรือเป็นผู้ถือหุ้นของกิจการใดจนถึงจุดที่ต้องทําคําเสนอซื้อ ให้บุคคลนั้นดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) กรณีหุ้นที่ได้มาจนถึงจุดที่ต้องทําคําเสนอซื้อเป็นหุ้นที่ออกใหม่ ให้รายงานจํานวนหุ้นที่ถืออยู่ทั้งหมดตามแบบ 246-2 ต่อสํานักงานภายในวันทําการถัดจากวันที่กิจการได้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทุนชําระแล้วกับกระทรวงพาณิชย์แล้วเสร็จ และยื่นคําเสนอซื้อ ตามแบบ 247-4 ต่อสํานักงานภายในเจ็ดวันทําการนับแต่วันที่ต้องยื่นแบบ 246-2 หรือภายในระยะเวลาที่ได้รับผ่อนผันจากสํานักงาน (2) กรณีอื่นนอกจาก (1) ให้รายงานจํานวนหุ้นที่ถืออยู่ทั้งหมดตามแบบ 246-2 พร้อมทั้งยื่นประกาศเจตนาในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการตามแบบ 247-3 ต่อสํานักงานภายในวันทําการถัดจากวันที่ได้หุ้นนั้นมา และยื่นคําเสนอซื้อตามแบบ 247-4 ต่อสํานักงานภายในเจ็ดวันทําการนับแต่วันที่ต้องยื่นแบบ 247-3 หรือภายในระยะเวลาที่ได้รับผ่อนผันจากสํานักงาน ข้อ ๑๘ ให้ผู้ทําคําเสนอซื้อยื่นคําเสนอซื้อตามแบบ 247-4 พร้อมแบบตอบรับคําเสนอซื้อต่อสํานักงาน โดยมีที่ปรึกษาทางการเงินเป็นผู้จัดเตรียมคําเสนอซื้อ และชําระค่าธรรมเนียมการยื่นคําเสนอซื้อตามที่กําหนดไว้ในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ทั้งนี้ ผู้จัดเตรียมคําเสนอซื้ออาจเป็นหรือร่วมเป็นผู้ทําคําเสนอซื้อด้วยก็ได้ คําเสนอซื้อให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันทําการถัดจากวันที่ยื่นคําเสนอซื้อต่อสํานักงาน ข้อ ๑๙ คําเสนอซื้อที่ได้ยื่นตามข้อ 18 ต้องมีข้อมูลถูกต้องครบถ้วน ตรงต่อความเป็นจริง ไม่มีข้อมูลที่อาจทําให้บุคคลอื่นสําคัญผิดในสาระสําคัญ รวมทั้งไม่มีการปกปิดข้อมูลที่เป็นสาระสําคัญซึ่งควรบอกให้แจ้ง คําเสนอซื้อต้องจัดทําเป็นภาษาไทย โดยเอกสารประกอบคําเสนอซื้ออาจเป็นภาษาอังกฤษก็ได้ ข้อ ๒๐ เมื่อได้ยื่นคําเสนอซื้อต่อสํานักงานแล้ว ให้ผู้ทําคําเสนอซื้อดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ส่งคําเสนอซื้อพร้อมแบบตอบรับคําเสนอซื้อให้แก่บุคคลดังต่อไปนี้ โดยทันทีหลังจากยื่นคําเสนอซื้อต่อสํานักงาน (ก) ผู้ถือหลักทรัพย์ในประเภทและรุ่นที่เสนอซื้อทุกรายตามรายชื่อในทะเบียนผู้ถือหลักทรัพย์ล่าสุด (ข) ผู้ถือหลักทรัพย์ตามข้อ 7(2) (ก) ถึง (ค) และ (3) (ก) ถึง (ค) ทุกรายตามรายชื่อในทะเบียนผู้ถือหลักทรัพย์ล่าสุด (หากเป็นการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ) (ค) กิจการที่ถูกเสนอซื้อ (ง) ตลาดหลักทรัพย์ (2) โฆษณาการทําคําเสนอซื้อในหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทยอย่างน้อยสองฉบับ และหนังสือพิมพ์รายวันภาษาอังกฤษอย่างน้อยหนึ่งฉบับตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (ก) ไม่น้อยกว่าสามวันทําการติดต่อกันนับแต่วันที่ยื่นคําเสนอซื้อต่อสํานักงาน ในกรณีที่ผู้ทําคําเสนอซื้อระบุไว้ในคําเสนอซื้อตั้งแต่ต้นว่าระยะเวลารับซื้อและข้อเสนอตามคําเสนอซื้อเป็นระยะเวลารับซื้อสุดท้ายและข้อเสนอสุดท้าย (ข) ไม่น้อยกว่าหนึ่งวันทําการนับแต่วันที่ยื่นคําเสนอซื้อต่อสํานักงาน ในกรณีอื่นนอกจาก (ก) ทั้งนี้ ให้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่าระยะเวลารับซื้อหรือข้อเสนอตามคําเสนอซื้อดังกล่าวมิใช่ระยะเวลารับซื้อสุดท้ายหรือข้อเสนอสุดท้าย ข้อ ๒๑ การโฆษณาการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ตามข้อ 20(2) ต้องกระทําให้ถูกต้องตรงต่อความเป็นจริง และต้องไม่ใช้ถ้อยคําหรือข้อความใดที่ทําให้บุคคลอื่นสําคัญผิดในสาระสําคัญรวมทั้งมีสาระสําคัญของข้อมูลไม่ต่างไปจากที่ปรากฏในคําเสนอซื้อที่ได้ยื่นต่อสํานักงาน และอย่างน้อยต้องมีข้อมูลตามรายการดังต่อไปนี้ (1) ชื่อและที่อยู่ของผู้ทําคําเสนอซื้อ (2) ชื่อของกิจการที่ถูกเสนอซื้อ (3) ชื่อและที่อยู่ของผู้จัดเตรียมคําเสนอซื้อ (4) ชื่อตัวแทนรับซื้อหลักทรัพย์ (5) ประเภทหรือรุ่นของหลักทรัพย์ที่เสนอซื้อ (6) ข้อเสนอในคําเสนอซื้อ (ก) จํานวนหลักทรัพย์ที่เสนอซื้อ และจํานวนสิทธิออกเสียงของหลักทรัพย์ที่เสนอซื้อ (ข) ราคาเสนอซื้อ (ค) เงื่อนไขการยกเลิกคําเสนอซื้อ (ง) การรับซื้อกรณีมีผู้แสดงเจตนาขายมากกว่าหรือน้อยกว่าจํานวนที่เสนอซื้อ (เฉพาะกรณีการทําคําเสนอซื้อหุ้นบางส่วนตามหมวด 5) (จ) ระยะเวลาที่ยินยอมให้ผู้ถือหลักทรัพย์ที่แสดงเจตนาขายตามคําเสนอซื้อยกเลิกการแสดงเจตนาขาย (7) ระยะเวลารับซื้อ (8) สถานที่ติดต่อในการรับและยื่นแบบตอบรับคําเสนอซื้อ (9) ข้อความที่แสดงอย่างชัดเจนว่าระยะเวลาตามคําเสนอซื้อหรือข้อเสนอตาม คําเสนอซื้อที่โฆษณาในครั้งนี้ เป็นระยะเวลารับซื้อสุดท้ายหรือข้อเสนอสุดท้ายหรือไม่ ข้อ ๒๒ ก่อนสิ้นสุดระยะเวลารับซื้อตามคําเสนอซื้อ หากผู้ทําคําเสนอซื้อได้เปิดเผยข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสําคัญที่มิได้แสดงอยู่ในคําเสนอซื้อให้แก่บุคคลใดเป็นการเฉพาะราย ผู้ทําคําเสนอซื้อต้องแก้ไขเพิ่มเติมข้อเท็จจริงดังกล่าวในคําเสนอซื้อที่ได้ยื่นต่อสํานักงานภายในวันทําการถัดจากวันที่ได้เปิดเผยข้อเท็จจริงต่อบุคคลใดนั้น และส่งข้อมูลที่แก้ไขเพิ่มเติมนั้นให้แก่บุคคลตามข้อ 20(1) (ก) ถึง (ง) โดยทันทีหลังจากยื่นแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลในคําเสนอซื้อต่อสํานักงาน ส่วน ๒ ระยะเวลา ข้อเสนอ และการรายงานการรับซื้อหลักทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๒๓ ผู้ทําคําเสนอซื้อต้องเริ่มรับซื้อหลักทรัพย์ตามคําเสนอซื้อภายในสามวันทําการนับแต่วันที่ยื่นคําเสนอซื้อต่อสํานักงาน ข้อ ๒๔ ผู้ทําคําเสนอซื้อต้องกําหนดระยะเวลารับซื้อติดต่อกันไม่น้อยกว่ายี่สิบห้าวันทําการ แต่ไม่เกินสี่สิบห้าวันทําการ ผู้ทําคําเสนอซื้อที่มิได้ระบุว่าจะไม่ขยายระยะเวลารับซื้อ และไม่เคยประกาศระยะเวลารับซื้อสุดท้าย อาจขยายระยะเวลารับซื้อได้ แต่ระยะเวลารับซื้อเดิมที่กําหนดไว้ในคําเสนอซื้อและระยะเวลารับซื้อที่ขยายเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินสี่สิบห้าวันทําการ กําหนดระยะเวลารับซื้อสูงสุดตามความในข้อนี้ มิให้ใช้บังคับกับการทําคําเสนอซื้อที่มีการแก้ไขข้อเสนอเมื่อเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงต่อกิจการตามข้อ 29 หรือการแก้ไขระยะเวลารับซื้อหรือข้อเสนอเมื่อมีบุคคลอื่นทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ประเภทเดียวกันที่ออกโดยกิจการเดียวกันตามข้อ 30 ข้อ ๒๕ ผู้ทําคําเสนอซื้อที่ประสงค์จะขยายระยะเวลารับซื้อ ให้ดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ยื่นประกาศขยายระยะเวลารับซื้อตามแบบ 247-6-ก ต่อสํานักงานก่อนสิ้นระยะเวลารับซื้อเดิม (2) ส่งประกาศให้แก่บุคคลตามข้อ 20(1) (ก) ถึง (ง) โดยทันทีหลังจากยื่นประกาศดังกล่าวต่อสํานักงาน และ (3) โฆษณาประกาศตามวิธีการที่กําหนดในข้อ 20(2) เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งวันทําการนับแต่วันที่ยื่นประกาศดังกล่าวต่อสํานักงาน ทั้งนี้ ให้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่าระยะเวลารับซื้อดังกล่าวเป็นระยะเวลารับซื้อสุดท้ายหรือไม่ ข้อ ๒๖ ผู้ทําคําเสนอซื้ออาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อเสนอในคําเสนอซื้อได้ ในกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) เมื่อผู้ทําคําเสนอซื้อยังไม่เคยประกาศข้อเสนอสุดท้าย และมีระยะเวลารับซื้อเหลือหลังจากวันประกาศแก้ไขข้อเสนออย่างน้อยสิบห้าวันทําการ (2) เมื่อมีเหตุการณ์ร้ายแรงต่อกิจการตามข้อ 45(1) โดยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 29 (3) เมื่อมีบุคคลอื่นทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ประเภทเดียวกันที่ออกโดยกิจการเดียวกัน โดยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 30 เว้นแต่กรณีตามข้อ 29 การแก้ไขข้อเสนอในคําเสนอซื้อ ต้องเป็นการแก้ไขเพื่อให้เป็นข้อเสนอที่ดีกว่าข้อเสนอเดิม และต้องจัดให้ผู้แสดงเจตนาขายก่อนมีประกาศแก้ไขข้อเสนอดังกล่าว ได้รับประโยชน์ในส่วนที่เพิ่มขึ้นด้วย การแก้ไขข้อเสนอในคําเสนอซื้อให้ดีกว่าเดิมตามวรรคสอง ให้หมายความรวมถึง (1) การเพิ่มราคาเสนอซื้อให้สูงขึ้น (2) การลดหรือยกเลิกเงื่อนไขการเสนอซื้อ (3) การขยายหรือเพิ่มระยะเวลาที่ยินยอมให้ผู้ถือหลักทรัพย์ที่แสดงเจตนาขายตามคําเสนอซื้อยกเลิกการแสดงเจตนาขายได้ ข้อ ๒๗ ในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อเสนอในคําเสนอซื้อ ให้ผู้ทําคําเสนอซื้อดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ยื่นประกาศแก้ไขข้อเสนอในคําเสนอซื้อตามแบบ 247-6-ก ต่อสํานักงาน (2) ส่งประกาศให้แก่บุคคลตามข้อ 20(1) (ก) ถึง (ง) โดยทันทีหลังจากยื่นประกาศดังกล่าวต่อสํานักงาน และ (3) โฆษณาประกาศตามวิธีการที่กําหนดในข้อ 20(2) เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า หนึ่งวันทําการนับแต่วันที่ยื่นประกาศดังกล่าวต่อสํานักงาน ทั้งนี้ ให้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่าข้อเสนอดังกล่าวเป็นข้อเสนอสุดท้ายหรือไม่ ข้อ ๒๘ ในกรณีที่ผู้ทําคําเสนอซื้อมิได้ระบุไว้ตั้งแต่ต้นในคําเสนอซื้อว่าข้อเสนอในคําเสนอซื้อหรือระยะเวลารับซื้อที่ระบุไว้ในคําเสนอซื้อเป็นข้อเสนอหรือระยะเวลารับซื้อสุดท้ายที่จะไม่แก้ไขเพิ่มเติมอีกแล้ว ผู้ทําคําเสนอซื้อมีหน้าที่ต้องประกาศข้อเสนอสุดท้าย และประกาศระยะเวลารับซื้อสุดท้าย โดยต้องดําเนินการในขณะที่มีระยะเวลารับซื้อเหลือหลังจากวันประกาศข้อเสนอสุดท้ายหรือวันประกาศระยะเวลารับซื้อสุดท้าย แล้วแต่กรณี อย่างน้อยสิบห้าวันทําการ ในการประกาศข้อเสนอสุดท้ายหรือการประกาศระยะเวลารับซื้อสุดท้ายตามวรรคหนึ่ง ผู้ทําคําเสนอซื้อต้องดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ยื่นประกาศตามแบบ 247-6-ก ต่อสํานักงาน (2) ส่งประกาศให้แก่บุคคลตามข้อ 20(1) (ก) ถึง (ง) โดยทันทีหลังจากยื่นประกาศดังกล่าวต่อสํานักงาน และ (3) โฆษณาประกาศตามวิธีการที่กําหนดในข้อ 20(2) เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าสามวันทําการติดต่อกันนับแต่วันที่ยื่นประกาศดังกล่าวต่อสํานักงาน ทั้งนี้ ให้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่าเป็นการประกาศข้อเสนอสุดท้าย หรือประกาศระยะเวลารับซื้อสุดท้าย ข้อ ๒๙ ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงต่อกิจการตามข้อ 45(1) ผู้ทําคําเสนอซื้ออาจแก้ไขข้อเสนอในคําเสนอซื้อโดยการลดราคาเสนอซื้อให้ต่ําลงได้ ไม่ว่าผู้ทําคําเสนอซื้อจะได้ประกาศข้อเสนอสุดท้ายหรือประกาศระยะเวลารับซื้อสุดท้ายแล้วหรือไม่ก็ตาม และให้ถือว่าข้อเสนอที่ยื่นตามข้อนี้เป็นข้อเสนอสุดท้าย และให้ผู้ทําคําเสนอซื้อประกาศข้อเสนอสุดท้ายตามวิธีการที่กําหนดในข้อ 28 วรรคสองด้วย การดําเนินการตามวรรคหนึ่งต้องกระทําภายใต้หลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ดําเนินการในขณะที่คําเสนอซื้อนั้นยังมีระยะเวลารับซื้อเหลืออย่างน้อยสิบห้าวันทําการนับแต่วันประกาศแก้ไขข้อเสนอดังกล่าว หรือ (2) ในกรณีที่ระยะเวลารับซื้อจะเหลือน้อยกว่าสิบห้าวันทําการ ผู้ทําคําเสนอซื้อได้ขยายระยะเวลารับซื้อให้เหลือเท่ากับสิบห้าวันทําการ โดยในกรณีนี้ให้ถือว่าระยะเวลารับซื้อดังกล่าวเป็นระยะเวลารับซื้อสุดท้าย และให้ผู้ทําคําเสนอซื้อประกาศระยะเวลารับซื้อสุดท้ายตามวิธีการที่กําหนดในข้อ 28 วรรคสองด้วย การใช้สิทธิลดราคาเสนอซื้อตามวรรคหนึ่ง จะกระทําได้ต่อเมื่อผู้ทําคําเสนอซื้อได้ระบุเหตุแห่งการใช้สิทธิลดราคาเสนอซื้อตามข้อนี้ไว้อย่างชัดเจนแล้วในคําเสนอซื้อ และเมื่อเกิดเหตุแห่งการใช้สิทธิ ผู้ทําคําเสนอซื้อได้แจ้งข้อเท็จจริงดังกล่าวให้สํานักงานทราบ และสํานักงานมิได้แจ้งทักท้วงเหตุแห่งการลดราคาเสนอซื้อดังกล่าวต่อผู้ทําคําเสนอซื้อภายในสามวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแจ้งเหตุนั้น เมื่อผู้ทําคําเสนอซื้อได้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในข้อนี้แล้ว ผู้ทําคําเสนอซื้อสามารถชําระราคาหลักทรัพย์ให้แก่ผู้แสดงเจตนาขายทุกรายตามราคาเสนอซื้อที่ลดลงแล้วได้ เว้นแต่หลักทรัพย์จํานวนที่ผู้ถือหลักทรัพย์ได้แสดงเจตนาขายก่อนวันที่ผู้ทําคําเสนอซื้อประกาศแก้ไขข้อเสนอ โดยเจตนาที่แสดงไว้แล้วนั้นเป็นเจตนาที่ไม่สามารถยกเลิกได้ ผู้ทําคําเสนอซื้อต้องชําระราคาหลักทรัพย์จํานวนดังกล่าวตามราคาเสนอซื้อเดิมก่อนการแก้ไข ข้อ ๓๐ ในระหว่างระยะเวลารับซื้อตามคําเสนอซื้อ หากมีบุคคลอื่นซึ่งมิใช่บุคคลตามมาตรา 258 ของผู้ทําคําเสนอซื้อยื่นคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ของกิจการที่ผู้ทําคําเสนอซื้อรับซื้ออยู่นั้นต่อสํานักงานด้วย ผู้ทําคําเสนอซื้ออาจขยายระยะเวลารับซื้อหรือแก้ไขข้อเสนอตามคําเสนอซื้อเดิมได้ ไม่ว่าผู้ทําคําเสนอซื้อจะได้ประกาศข้อเสนอสุดท้ายหรือประกาศระยะเวลารับซื้อสุดท้ายแล้วหรือไม่ก็ตาม การแก้ไขคําเสนอซื้อตามวรรคหนึ่งต้องกระทําภายใต้หลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ผู้ทําคําเสนอซื้อต้องยื่นประกาศขยายระยะเวลารับซื้อหรือประกาศแก้ไขข้อเสนตามคําเสนอซื้อ ภายในห้าวันทําการนับแต่วันที่บุคคลอื่นนั้นยื่นคําเสนอซื้อต่อสํานักงาน หรือภายในระยะเวลารับซื้อสุดท้ายของตน แล้วแต่วันใดจะถึงก่อน (2) ผู้ทําคําเสนอซื้อต้องยื่นประกาศระยะเวลารับซื้อสุดท้ายหรือประกาศข้อเสนอสุดท้ายภายในวันทําการสุดท้ายที่บุคคลอื่นนั้นสามารถประกาศระยะเวลารับซื้อสุดท้ายหรือประกาศข้อเสนอสุดท้าย (3) การขยายระยะเวลารับซื้อทําได้เพียงไม่เกินกว่าระยะเวลารับซื้อตามคําเสนอซื้อของบุคคลอื่นนั้น (4) ผู้ทําคําเสนอซื้อได้ระบุเหตุแห่งการใช้สิทธิในการขยายระยะเวลารับซื้อหรือการแก้ไขข้อเสนอตามข้อนี้ไว้อย่างชัดเจนแล้วในคําเสนอซื้อ และในแบบ 247-6-ก ทุกครั้ง นอกจากหลักเกณฑ์ที่กําหนดในวรรคสองแล้ว ให้ผู้ทําคําเสนอซื้อปฏิบัติตามความที่กําหนดในส่วนนี้ด้วยโดยอนุโลม ข้อ ๓๑ ผู้ทําคําเสนอซื้อต้องยินยอมให้ผู้ถือหลักทรัพย์ที่แสดงเจตนาขายตามคําเสนอซื้อยกเลิกการแสดงเจตนาดังกล่าวได้ตามระยะเวลาที่กําหนดในคําเสนอซื้อ ซึ่งต้องไม่น้อยกว่ายี่สิบวันทําการของระยะเวลารับซื้อ ทั้งนี้ ผู้ทําคําเสนอซื้อต้องระบุข้อความดังกล่าวไว้ให้ชัดเจนในคําเสนอซื้อ ในกรณีที่มีการขยายระยะเวลารับซื้อหรือมีการแก้ไขข้อเสนอในคําเสนอซื้อ ผู้ทําคําเสนอซื้อต้องขยายระยะเวลาที่ยินยอมให้ผู้ถือหลักทรัพย์ที่แสดงเจตนาขายตามคําเสนอซื้อยกเลิกการแสดงเจตนาดังกล่าวได้เพิ่มขึ้นอีกเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าสิบวันทําการนับต่อจากวันสุดท้ายที่ผู้ทําคําเสนอซื้อยินยอมให้ผู้แสดงเจตนาขายยกเลิกการแสดงเจตนาดังกล่าวได้ในครั้งก่อน หรือวันที่ผู้ทําคําเสนอซื้อประกาศขยายระยะเวลารับซื้อหรือประกาศแก้ไขข้อเสนอ แล้วแต่วันใดจะถึงภายหลัง แต่ต้องไม่เกินกว่าระยะเวลารับซื้อ เมื่อผู้ถือหลักทรัพย์รายใดยกเลิกการแสดงเจตนาขายหลักทรัพย์ภายในระยะเวลาที่กําหนด ผู้ทําคําเสนอซื้อต้องส่งมอบหลักทรัพย์คืนให้แก่ผู้ถือหลักทรัพย์รายนั้นภายในวันทําการถัดจากวันที่ผู้ถือหลักทรัพย์แจ้งการยกเลิกดังกล่าว ข้อ ๓๒ ผู้ทําคําเสนอซื้อต้องจัดให้มีตัวแทนรับซื้อหลักทรัพย์ทําหน้าที่เก็บรักษาหลักทรัพย์ที่ผู้ถือหลักทรัพย์มาแสดงเจตนาขาย โดยแยกบัญชีหลักทรัพย์ดังกล่าวไว้ต่างหากจากบัญชีทรัพย์สินของตัวแทนรับซื้อและผู้ทําคําเสนอซื้อ รวมทั้งส่งมอบหลักทรัพย์ที่มีผู้มาแสดงเจตนาขายให้แก่ผู้ทําคําเสนอซื้อให้แล้วเสร็จ ภายในวันทําการถัดจากวันที่ผู้ทําคําเสนอซื้อชําระราคาหลักทรัพย์แก่ผู้แสดงเจตนาขาย ข้อ ๓๓ ให้ผู้ทําคําเสนอซื้อที่ได้ประกาศระยะเวลารับซื้อสุดท้ายแล้ว รายงานผลการเสนอซื้อหลักทรัพย์เบื้องต้นตามแบบ 247-6-ข ต่อสํานักงาน และสําเนาให้แก่ตลาดหลักทรัพย์ ภายในวันทําการถัดจากวันสุดท้ายที่ผู้ทําคําเสนอซื้อยินยอมให้ผู้แสดงเจตนาขายยกเลิกการแสดงเจตนาดังกล่าวได้ หรือก่อนสิ้นสุดระยะเวลารับซื้อสามวันทําการ ในกรณีที่ผู้ทําคําเสนอซื้อยินยอมให้ผู้แสดงเจตนาขายยกเลิกการแสดงเจตนาขายได้ตลอดระยะเวลารับซื้อ ในกรณีที่ผู้ทําคําเสนอซื้อได้ยื่นรายงานตามวรรคหนึ่งต่อสํานักงานแล้ว และต่อมาได้มีการขยายระยะเวลารับซื้อเนื่องจากเหตุตามข้อ 29 หรือข้อ 30 ให้ผู้ทําคําเสนอซื้อปฏิบัติตามความในวรรคหนึ่งอีกครั้งหนึ่ง ข้อ ๓๔ ให้ผู้ทําคําเสนอซื้อรายงานผลการซื้อหลักทรัพย์ตามแบบ 256-2 ต่อสํานักงาน และสําเนาให้แก่ตลาดหลักทรัพย์ ภายในห้าวันทําการนับแต่วันสิ้นสุดระยะเวลารับซื้อ ส่วน ๓ ราคาเสนอซื้อหลักทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๓๕ ราคาเสนอซื้อหลักทรัพย์ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ราคาเสนอซื้อจากผู้ถือหลักทรัพย์ทุกรายในประเภทและรุ่นเดียวกัน ต้องเป็นรูปแบบเดียวกัน (2) ราคาเสนอซื้ออาจกําหนดเป็นทางเลือกมากกว่าหนึ่งทางเลือกก็ได้ โดยอย่างน้อยต้องกําหนดทางเลือกหนึ่งเป็นตัวเงินเสมอ (3) ราคาเสนอซื้อที่กําหนดเป็นสิ่งตอบแทนอื่นที่มิใช่ตัวเงินต้องมีการประเมินมูลค่าให้เป็นตัวเงินโดยที่ปรึกษาทางการเงิน ข้อ ๓๖ เว้นแต่กรณีตามข้อ 37 ราคาเสนอซื้อหุ้นแต่ละประเภทต้องไม่ต่ํากว่าราคาสูงสุดที่ผู้ทําคําเสนอซื้อหรือบุคคลตามมาตรา 258 ของผู้ทําคําเสนอซื้อ ได้หุ้นประเภทนั้นมาในระหว่างระยะเวลาเก้าสิบวันก่อนวันที่ยื่นคําเสนอซื้อต่อสํานักงาน ในกรณีที่ผู้ทําคําเสนอซื้อหรือบุคคลตามมาตรา 258 ของผู้ทําคําเสนอซื้อ ได้หุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิประเภทใดประเภทหนึ่งประเภทเดียวมาในระหว่างระยะเวลาเก้าสิบวันก่อนวันที่ยื่นคําเสนอซื้อต่อสํานักงาน ราคาเสนอซื้อหุ้นประเภทที่ไม่มีการได้มานั้นต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่หุ้นประเภทและรุ่นที่ไม่มีการได้มานั้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ราคาเสนอซื้อต้องไม่ต่ํากว่าราคาสูงสุดระหว่าง (ก) ราคาตลาดถัวเฉลี่ยถ่วงน้ําหนักของหุ้นประเภทที่ไม่มีการได้มานั้นในระหว่างห้าวันทําการล่าสุดก่อนวันที่ได้หุ้นอีกประเภทหนึ่งมา ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการได้หุ้นอีกประเภทหนึ่งมาหลายครั้งในระหว่างระยะเวลาเก้าสิบวันก่อนวันที่ยื่นคําเสนอซื้อต่อสํานักงานให้ใช้ราคาตลาดถัวเฉลี่ยถ่วงน้ําหนักของช่วงระยะเวลาห้าวันทําการล่าสุดก่อนวันที่ได้หุ้นอีกประเภทหนึ่งนั้นมาในราคาสูงสุด และ (ข) มูลค่ายุติธรรมของหุ้นประเภทที่ไม่มีการได้มานั้น ซึ่งประเมินโดยที่ปรึกษาทางการเงิน (2) กรณีอื่นนอกจาก (1) ให้ใช้ราคาตาม (1) (ข) ข้อ ๓๗ ในกรณีที่เป็นการทําคําเสนอซื้อเนื่องจากการครอบงํากิจการผ่านนิติบุคคลอื่นตามข้อ 6 ราคาเสนอซื้อหุ้นต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่ผู้ทําคําเสนอซื้อหรือบุคคลตามมาตรา 258 ของผู้ทําคําเสนอซื้อไม่มีการได้มาซึ่งหุ้นของกิจการในระหว่างระยะเวลาเก้าสิบวันก่อนวันที่ยื่นคําเสนอซื้อต่อสํานักงาน ราคาเสนอซื้อหุ้นต้องไม่ต่ํากว่าต้นทุนการได้มาซึ่งอํานาจครอบงํากิจการนั้นผ่านนิติบุคคลอื่น ทั้งนี้ ให้สํานักงานมีอํานาจประกาศกําหนดหลักเกณฑ์การคํานวณต้นทุนการได้มาซึ่งอํานาจครอบงํากิจการในลักษณะดังกล่าวได้ (2) ในกรณีที่ผู้ทําคําเสนอซื้อหรือบุคคลตามมาตรา 258 ของผู้ทําคําเสนอซื้อได้หุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิของกิจการมาในระหว่างระยะเวลาเก้าสิบวันก่อนวันที่ยื่นคําเสนอซื้อต่อสํานักงาน (ก) ราคาเสนอซื้อหุ้นประเภทที่ได้มานั้นต้องไม่ต่ํากว่าราคาสูงสุดระหว่าง 1. ต้นทุนการได้มาซึ่งอํานาจครอบงํากิจการนั้นผ่านนิติบุคคลอื่นตามหลักเกณฑ์การคํานวณที่สํานักงานกําหนดตาม (1) และ 2. ราคาสูงสุดที่ผู้ทําคําเสนอซื้อหรือบุคคลตามมาตรา 258ของผู้ทําคําเสนอซื้อได้หุ้นประเภทนั้นมาในระหว่างระยะเวลาเก้าสิบวันก่อนวันที่ยื่นคําเสนอซื้อต่อสํานักงาน (ข) ราคาเสนอซื้อหุ้นประเภทที่ไม่มีการได้มานั้น ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดตามข้อ 36 วรรคสอง โดยอนุโลม ข้อ ๓๘ ในกรณีหุ้นที่ได้มาในระหว่างระยะเวลาเก้าสิบวันก่อนวันที่ยื่นคําเสนอซื้อต่อสํานักงาน เป็นหุ้นที่ได้มาจากการใช้สิทธิซื้อหรือแปลงสภาพ ให้คํานวณราคาสูงสุดที่ได้หุ้นนั้นมาตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่มีการได้มาเนื่องจากการใช้สิทธิตามหลักทรัพย์ประเภทใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น ใบสําคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ หรือหลักทรัพย์อื่นที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน ซึ่งเป็นหลักทรัพย์ที่ได้มาในระหว่างระยะเวลาเก้าสิบวันก่อนวันที่ยื่นคําเสนอซื้อต่อสํานักงาน ราคาสูงสุดที่ได้หุ้นนั้นมาให้หมายถึง ราคาที่สูงกว่าระหว่าง (ก) ราคาการได้มาซึ่งหลักทรัพย์ที่เป็นที่มาแห่งการใช้สิทธิดังกล่าว รวมกับราคาใช้สิทธิซื้อหุ้นตามหลักทรัพย์ดังกล่าว และ (ข) ราคาใดราคาหนึ่งดังต่อไปนี้ 1. ราคาตลาดถัวเฉลี่ยถ่วงน้ําหนักของหุ้นนั้นในระหว่างห้าวันทําการก่อนวันที่มีการใช้สิทธิซื้อหุ้นตามหลักทรัพย์แปลงสภาพนั้น ในกรณีที่หุ้นประเภทเดียวกับหุ้นที่ได้จากการใช้สิทธินั้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หรือ 2. มูลค่ายุติธรรมของหุ้นนั้นซึ่งประเมินโดยที่ปรึกษาทางการเงิน ในกรณีอื่นใดนอกจาก 1. (2) ในกรณีที่มีการได้มาเนื่องจากการแปลงสภาพตามหลักทรัพย์ประเภทหุ้นกู้แปลงสภาพ หรือหลักทรัพย์อื่นที่มีลักษณะทํานองเดียวกัน ซึ่งเป็นหลักทรัพย์ที่ได้มาในระหว่างระยะเวลาเก้าสิบวันก่อนวันที่ยื่นคําเสนอซื้อต่อสํานักงานราคาสูงสุดที่ได้หุ้นนั้นมาให้หมายถึง ราคาที่สูงกว่าระหว่าง (ก) ราคาการได้มาซึ่งหลักทรัพย์ที่เป็นที่มาแห่งการแปลงสภาพดังกล่าว และ (ข) ราคาตาม (1) (ข) โดยอนุโลม (3) ในกรณีที่ไม่มีการได้มาซึ่งหลักทรัพย์ที่เป็นที่มาแห่งการใช้สิทธิซื้อหรือการแปลงสภาพมาในระหว่างระยะเวลาเก้าสิบวันก่อนวันที่ยื่นคําเสนอซื้อต่อสํานักงาน ราคาสูงสุดที่ได้หุ้นนั้นมาให้หมายถึง ราคาตาม (1) (ข) โดยอนุโลม ข้อ ๓๙ ในกรณีที่หุ้นที่ได้มาในระหว่างระยะเวลาเก้าสิบวันก่อนวันที่ยื่นคําเสนอซื้อต่อสํานักงาน เป็นการได้มาโดยการแลกเปลี่ยนกับหุ้นของบริษัทอื่น ราคาสูงสุดที่ได้หุ้นนั้นมาให้ใช้ราคาดังต่อไปนี้ คูณด้วยอัตราจํานวนหุ้นของบริษัทอื่นต่อจํานวนหุ้นของกิจการที่ใช้ในกาแลกเปลี่ยนนั้น (1) ราคาตลาดถัวเฉลี่ยถ่วงน้ําหนักของหุ้นของบริษัทอื่นนั้นในระหว่าง ห้าวันทําการก่อนวันที่ได้หุ้นของกิจการมา ในกรณีหุ้นของบริษัทอื่นนั้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (2) มูลค่ายุติธรรมของหุ้นของบริษัทอื่นนั้น ซึ่งประเมินโดยที่ปรึกษาทางการเงิน ในกรณีที่หุ้นของบริษัทอื่นที่นํามาแลกเปลี่ยนนั้น มิได้เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หรือเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนแต่ไม่มีการซื้อขายในระหว่างห้าวันทําการก่อนวันที่ได้มาซึ่งหุ้นของกิจการ ข้อ ๔๐ ในการคํานวณราคาสูงสุดที่ได้หุ้นมาในระหว่างระยะเวลาเก้าสิบวันก่อนวันที่ยื่นคําเสนอซื้อต่อสํานักงาน ผู้ทําคําเสนอซื้ออาจปรับราคาหุ้นที่ได้มาโดยคํานึงถึงผลกระทบจากเหตุการณ์ดังต่อไปนี้ด้วยก็ได้ โดยผู้ทําคําเสนอซื้อต้องแสดงรายละเอียดการปรับราคาที่ได้มานั้นไว้ในแบบ 247-4 ด้วย (1) การจ่ายปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น (2) การเปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้นที่ตราไว้อันเป็นผลให้จํานวนหุ้นเพิ่มขึ้นหรือลดลง (3) การให้สิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุนหรือใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ แก่ผู้ถือหุ้นตามส่วนจํานวนหุ้นที่ถืออยู่เดิม ในกรณีที่ข้อกําหนดในประกาศนี้กําหนดให้ผู้ทําคําเสนอซื้อต้องนําราคาการได้มาซึ่งหลักทรัพย์ที่เป็นที่มาแห่งการใช้สิทธิซื้อหรือแปลงสภาพรวมคํานวณเป็นราคาการได้มาซึ่งหุ้นของกิจการด้วย ผู้ทําคําเสนอซื้ออาจปรับราคาการได้มาซึ่งหลักทรัพย์อื่นนั้นโดยคํานึงถึงอัตราการมีสิทธิซื้อหุ้นหรืออัตราการแปลงสภาพเป็นหุ้นต่อหลักทรัพย์หนึ่งหน่วยประกอบด้วยก็ได้ ข้อ ๔๑ ราคาเสนอซื้อใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นและใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้ ต้องไม่ต่ํากว่าราคาสูงสุดระหว่าง (1) ราคาสูงสุดที่ได้ใบสําคัญแสดงสิทธิรุ่นนั้นมาในระหว่างระยะเวลาเก้าสิบวันก่อนวันที่ยื่นคําเสนอซื้อต่อสํานักงาน และ (2) ผลต่างของราคาเสนอซื้อหุ้นประเภทเดียวกับหุ้นที่รองรับใบสําคัญแสดงสิทธินั้นกับราคาใช้สิทธิซื้อหุ้นตามใบสําคัญแสดงสิทธินั้น คูณด้วยจํานวนหุ้นที่สามารถใช้สิทธิซื้อได้ต่อใบสําคัญแสดงสิทธิหนึ่งหน่วย ข้อ ๔๒ ราคาเสนอซื้อหุ้นกู้แปลงสภาพ ต้องไม่ต่ํากว่าราคาสูงสุดระหว่าง (1) ราคาสูงสุดที่ได้หุ้นกู้แปลงสภาพรุ่นนั้นมาในระหว่างระยะเวลาเก้าสิบวันก่อนวันที่ยื่นคําเสนอซื้อต่อสํานักงาน และ (2) ราคาเสนอซื้อหุ้นประเภทเดียวกับหุ้นที่รองรับหุ้นกู้แปลงสภาพนั้น คูณด้วยจํานวนหุ้นที่พึงได้รับจากการใช้สิทธิแปลงสภาพตามหุ้นกู้แปลงสภาพหนึ่งหน่วย ข้อ ๔๓ ในกรณีที่ผู้ทําคําเสนอซื้อแก้ไขราคาเสนอซื้อหุ้นให้สูงขึ้น ผู้ทําคําเสนอซื้อต้องแก้ไขราคาเสนอซื้อหลักทรัพย์แปลงสภาพที่มีหุ้นประเภทเดียวกับที่ได้แก้ไขราคาเสนอซื้อนั้นเป็นหุ้นรองรับการใช้สิทธิ ให้เป็นไปตามข้อ 41 และข้อ 42 ด้วย ข้อ ๔๔ ในกรณีดังต่อไปนี้ เมื่อได้รับคําขอจากผู้ทําคําเสนอซื้อ คณะอนุกรรมการวินิจฉัยการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการอาจผ่อนผันให้ผู้ทําคําเสนอซื้อกําหนดราคาเสนอซื้อหลักทรัพย์เป็นประการอื่นได้ (1) เมื่อผู้ทําคําเสนอซื้อแสดงให้เห็นได้ว่าราคาที่ได้จากการคํานวณตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในประกาศนี้มิได้สะท้อนถึงมูลค่าที่แท้จริงของหลักทรัพย์นั้น (2) เมื่อผู้ทําคําเสนอซื้อได้หุ้นของกิจการมาด้วยวิธีอื่นนอกจากวิธีที่ได้กําหนดหลักเกณฑ์การคํานวณราคาไว้แล้วในประกาศนี้ ในระหว่างระยะเวลาเก้าสิบวันก่อนวันที่ยื่นคําเสนอซื้อต่อสํานักงาน ให้ผู้ทําคําเสนอซื้อยื่นคําขอผ่อนผันตามวรรคหนึ่งผ่านสํานักงาน โดยชําระค่าธรรมเนียมตามที่กําหนดไว้ในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ ทั้งนี้ ผู้ทําคําเสนอซื้อต้องจัดให้มีที่ปรึกษาทางการเงินแสดงความเห็นต่อราคาเสนอซื้อที่ผู้ทําคําเสนอซื้อประสงค์จะกําหนดเพื่อเสนอประกอบการพิจารณาของคณะอนุกรรมการวินิจฉัยการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการด้วย ส่วน ๔ การยกเลิกคําเสนอซื้อ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๔๕ ผู้ทําคําเสนอซื้ออาจยกเลิกคําเสนอซื้อได้ในกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) มีเหตุการณ์หรือการกระทําใด ๆ เกิดขึ้นภายหลังจากยื่นคําเสนอซื้อต่อสํานักงานและยังไม่พ้นระยะเวลารับซื้อ อันเป็นเหตุหรืออาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อฐานะหรือทรัพย์สินของกิจการที่ถูกเสนอซื้อ โดยเหตุการณ์หรือการกระทําดังกล่าวมิได้เกิดจากการกระทําของผู้ทําคําเสนอซื้อหรือการกระทําที่ผู้ทําคําเสนอซื้อต้องรับผิดชอบ (2) กิจการที่ถูกเสนอซื้อกระทําการใด ๆ ภายหลังจากยื่นคําเสนอซื้อต่อสํานักงานและยังไม่พ้นระยะเวลารับซื้อ อันเป็นผลให้มูลค่าของหุ้นลดลงอย่างมีนัยสําคัญ การใช้สิทธิยกเลิกคําเสนอซื้อตามวรรคหนึ่งจะกระทําได้ต่อเมื่อผู้ทําคําเสนอซื้อได้ระบุเหตุดังกล่าวไว้อย่างชัดเจนแล้วในคําเสนอซื้อ และเมื่อเกิดเหตุแห่งการใช้สิทธิ ผู้ทําคําเสนอซื้อได้แจ้งข้อเท็จจริงดังกล่าวให้สํานักงานทราบ และสํานักงานมิได้แจ้งทักท้วงเหตุแห่งการยกเลิกดังกล่าวต่อผู้ทําคําเสนอซื้อภายในสามวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแจ้งเหตุนั้น ข้อ ๔๖ นอกจากการยกเลิกคําเสนอซื้อตามข้อ 45 แล้ว ผู้ทําคําเสนอซื้อที่ทําคําเสนอซื้อโดยสมัครใจ อาจยกเลิกคําเสนอซื้อได้หากสิ้นสุดระยะเวลารับซื้อที่กําหนดไว้ในคําเสนอซื้อแล้ว ปรากฏว่าจํานวนหุ้นที่มีผู้แสดงเจตนาขายมีจํานวนน้อยกว่าจํานวนหุ้นที่ผู้ทําคําเสนอซื้อกําหนดเป็นเงื่อนไขในการรับซื้อ ทั้งนี้ ผู้ทําคําเสนอซื้อต้องระบุเงื่อนไขและเหตุแห่งการยกเลิกตามข้อนี้ไว้อย่างชัดเจนในคําเสนอซื้อด้วย ข้อ ๔๗ ในการยกเลิกคําเสนอซื้อ ให้ผู้ทําคําเสนอซื้อดําเนินการดังต่อไปนี้ (1) ส่งหนังสือแจ้งการยกเลิกคําเสนอซื้อพร้อมเหตุผลไปยังบุคคลดังต่อไปนี้ (ก) ตลาดหลักทรัพย์ กิจการที่ถูกเสนอซื้อ และผู้ถือหลักทรัพย์ในประเภทหรือรุ่นที่เสนอซื้อทุกรายตามรายชื่อในทะเบียนผู้ถือหลักทรัพย์ล่าสุด ภายในวันทําการหลังจากพ้นวันทําการสุดท้ายที่สํานักงานอาจแจ้งทักท้วงการยกเลิก กรณีเป็นการยกเลิกคําเสนอซื้อตามข้อ 45 (ข) สํานักงานและบุคคลตาม (ก) ภายในวันทําการถัดจากวันสิ้นสุดระยะเวลารับซื้อ กรณีเป็นการยกเลิกคําเสนอซื้อตามข้อ 46 (2) ให้ตัวแทนรับซื้อหลักทรัพย์คืนหลักทรัพย์ให้แก่ผู้แสดงเจตนาขายที่ยังไม่ได้รับชําระราคาหลักทรัพย์ ภายในวันทําการถัดจากวันที่แจ้งการยกเลิกคําเสนอซื้อไปยังผู้แสดงเจตนา ส่วน ๕ ข้อบังคับหลังการทําคําเสนอซื้อ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๔๘ ภายหลังการทําคําเสนอซื้อ ห้ามมิให้ผู้ทําคําเสนอซื้อที่ได้มาหรือเป็นผู้ถือหุ้นของกิจการจนถึงหรือข้ามจุดที่ต้องทําคําเสนอซื้อตามข้อ 4 กระทําการดังต่อไปนี้ ไม่ว่าบุคคลดังกล่าวจะมีการได้หลักทรัพย์จากการทําคําเสนอซื้อหรือไม่ (1) ซื้อหรือกระทําการอื่นใด อันเป็นผลให้ได้มาหรือเป็นผู้ถือหลักทรัพย์ของกิจการนั้นในราคาหรือด้วยสิ่งตอบแทนที่สูงกว่าราคาหรือสิ่งตอบแทนในคําเสนอซื้อ ทั้งนี้ ในระหว่างระยะเวลาหกเดือนนับแต่วันสิ้นสุดระยะเวลารับซื้อ เว้นแต่เป็นการได้มาซึ่งหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ หรือเป็นการได้มาเนื่องจากการทําคําเสนอซื้อซึ่งได้รับอนุมัติให้สามารถกระทําได้ตามมาตรา 255 (2) ดําเนินการในส่วนที่เป็นสาระสําคัญแตกต่างไปจากที่ระบุไว้ในคําเสนอซื้อเป็นระยะเวลาหนึ่งปีนับแต่วันสิ้นสุดระยะเวลารับซื้อ เว้นแต่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการมีมติเป็นประการอื่นด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจํานวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นซึ่งมาประชุมและมีสิทธิออกเสียง และได้แจ้งให้สํานักงานทราบแล้ว หมวด ๕ การทําคําเสนอซื้อหุ้นบางส่วน \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๔๙ การทําคําเสนอซื้อหุ้นบางส่วนอันจะเป็นผลให้บุคคลใดได้มาหรือเป็นผู้ถือหุ้นของกิจการใดจนถึงจุดที่ต้องทําคําเสนอซื้อโดยได้รับยกเว้นไม่ต้องทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการในภายหลัง ให้อยู่ภายใต้บังคับข้อกําหนดในหมวดนี้ รวมทั้งข้อกําหนดในหมวด 4 โดยอนุโลม เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับหมวดนี้ ข้อ ๕๐ ให้บุคคลที่ประสงค์จะขอรับการผ่อนผันการทําคําเสนอซื้อหุ้นบางส่วนของกิจการโดยได้รับยกเว้นไม่ต้องทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการในภายหลัง ยื่นคําขอผ่อนผันต่อสํานักงาน พร้อมทั้งชําระค่าธรรมเนียมตามที่กําหนดไว้ในประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยการกําหนดค่าธรรมเนียมการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล การจดทะเบียน และการยื่นคําขอต่าง ๆ คําขอผ่อนผันทําคําเสนอซื้อหุ้นบางส่วนของกิจการจะได้รับอนุมัติจากสํานักงานก็ต่อเมื่อผู้ยื่นคําขอสามารถแสดงและรับรองต่อสํานักงานได้ว่า (1) เมื่อรวมจํานวนหุ้นดังต่อไปนี้ทั้งหมดแล้วจะไม่เป็นผลให้ผู้ขอผ่อนผันเป็นผู้ถือหุ้นหรือสามารถเป็นผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงตั้งแต่ร้อยละห้าสิบขึ้นไปของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ (ก) หุ้นทุกประเภทที่ผู้ขอผ่อนผันและบุคคลตามมาตรา 258 ของผู้ขอผ่อนผันถืออยู่เดิมก่อนการขอผ่อนผัน (ข) หุ้นที่จะได้จากการใช้สิทธิซื้อหรือแปลงสภาพตามหลักทรัพย์แปลงสภาพที่ผู้ขอผ่อนผันและบุคคลตามมาตรา 258 ของผู้ขอผ่อนผัน ถืออยู่เดิมก่อนการขอผ่อนผัน (ค) หุ้นที่ผู้ขอผ่อนผันประสงค์จะได้มาโดยการทําคําเสนอซื้อบางส่วน (2) ที่ประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการมีมติยินยอมให้ผู้ขอผ่อนผันทําคําเสนอซื้อหุ้นบางส่วนของกิจการได้ ด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นซึ่งมาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน โดยหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้นต้องระบุข้อมูลดังต่อไปนี้ไว้อย่างชัดเจน (ก) รายละเอียดเกี่ยวกับผู้ที่ประสงค์จะได้หุ้นมา รวมทั้งจํานวนหุ้นและสิทธิออกเสียงของบุคคลดังกล่าวและบุคคลตามมาตรา 258 ของบุคคลดังกล่าว ทั้งก่อนและหลังการทําคําเสนอซื้อบางส่วน (ข) รายละเอียดของหุ้นที่ประสงค์จะเสนอซื้อ (ค) วัตถุประสงค์ของการเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นในกิจการ และผลกระทบต่อกิจการและผู้ถือหุ้นจากการดําเนินการดังกล่าว (3) ในการขอมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อทําคําเสนอซื้อหุ้นบางส่วนของกิจการ ผู้ขอผ่อนผันและบุคคลตามมาตรา 258 ของผู้ขอผ่อนผันไม่ได้ใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนในเรื่องดังกล่าว (4) ในระหว่างระยะเวลาหกเดือนก่อนวันที่ยื่นคําเสนอซื้อต่อสํานักงานผู้ขอผ่อนผันและบุคคลตามมาตรา 258 ของผู้ขอผ่อนผันมีหรือจะมีการได้มาซึ่งหุ้นประเภทที่ขอผ่อนผันไม่เกินหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (ก) จํานวนหุ้นที่ได้มาจากบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเฉพาะ ไม่ว่าครั้งเดียวหรือหลายครั้งรวมกัน ไม่เกินกว่าร้อยละห้าของจํานวนหุ้นที่จะเสนอซื้อตามคําเสนอซื้อบางส่วน และ (ข) สิทธิออกเสียงจากหุ้นและหุ้นที่จะได้มาจากการใช้สิทธิซื้อหรือแปลงสภาพ ตามหลักทรัพย์แปลงสภาพที่ได้มาในระหว่างระยะเวลาดังกล่าว เมื่อรวมกันแล้วไม่เกินกว่าร้อยละยี่สิบของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของจํานวนหุ้นที่จะเสนอซื้อตามคําเสนอซื้อบางส่วน ในการพิจารณาตามวรรคหนึ่ง มิให้นับหุ้นจํานวนที่ได้มาโดยเข้ากรณียกเว้นตามข้อ 9 ในฐานการคํานวณ ข้อ ๕๑ ผู้ที่ได้รับการผ่อนผันให้ทําคําเสนอซื้อหุ้นบางส่วนต้องดําเนินการภายใต้หลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) จํานวนหุ้นที่เสนอซื้อต้องไม่ต่ํากว่าร้อยละสิบของจํานวนหุ้นในประเภทนั้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมดหลังหักหุ้นที่กิจการซื้อคืนและยังคงค้างอยู่ ณ วันสิ้นเดือนของเดือนก่อนเดือนที่มีการยื่นคําเสนอซื้อต่อสํานักงาน (2) ในกรณีที่ผู้ได้รับการผ่อนผันหรือบุคคลตามมาตรา 258 ของผู้ได้รับการผ่อนผันมีการได้มาซึ่งหุ้นประเภทใดในระหว่างระยะเวลาหกเดือนก่อนวันที่ยื่นคําเสนอซื้อต่อสํานักงาน ผู้ได้รับการผ่อนผันต้องเสนอซื้อหุ้นประเภทนั้นในคําเสนอซื้อหุ้นบางส่วนด้วย (3) ในการยื่นคําเสนอซื้อต่อสํานักงาน ผู้ได้รับการผ่อนผันต้องยื่นหนังสือแสดงที่มา จํานวน และสิทธิออกเสียงของหุ้นและหุ้นที่จะได้มาจากการใช้สิทธิซื้อหรือแปลงสภาพตามหลักทรัพย์แปลงสภาพที่ผู้ได้รับการผ่อนผันและบุคคลตามมาตรา 258 ของผู้ได้รับการผ่อนผัน ได้มาในระหว่างระยะเวลาหกเดือนก่อนวันที่ยื่นคําเสนอซื้อต่อสํานักงานด้วย ในกรณีที่ปรากฏต่อสํานักงานว่า ผู้ได้รับการผ่อนผันมิได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในหมวดนี้ ให้การผ่อนผันเป็นอันเพิกถอนไป ข้อ ๕๒ ผู้ทําคําเสนอซื้อจะซื้อหุ้นเกินจํานวนสูงสุดที่ระบุในคําเสนอซื้อมิได้ แม้จะมีผู้แสดงเจตนาขายหุ้นประเภทที่เสนอซื้อมากกว่าจํานวนสูงสุดที่เสนอซื้อก็ตาม ทั้งนี้ ให้ผู้ทําคําเสนอซื้อระบุข้อกําหนดดังกล่าวไว้ให้ชัดเจนในคําเสนอซื้อด้วย ในกรณีที่มีผู้แสดงเจตนาขายหุ้นประเภทที่เสนอซื้อมากกว่าจํานวนสูงสุดที่เสนอซื้อ ให้ผู้ทําคําเสนอซื้อใช้วิธีจัดสรรตามสัดส่วนของจํานวนหุ้นแต่ละประเภทที่มีผู้แสดงเจตนาขาย (pro-rate) และภายใต้บังคับความในวรรคหนึ่ง ผู้ทําคําเสนอซื้อจะปรับปรุงจํานวนการรับซื้อจากผู้แสดงเจตนาขายแต่ละรายภายหลังจากการจัดสรรตามสัดส่วน เพื่อมิให้จํานวนหลักทรัพย์ที่ผู้ถือหลักทรัพย์ไม่สามารถขายให้แก่ผู้ทําคําเสนอซื้อมีลักษณะเป็นหน่วยย่อยของการซื้อขาย (odd-lot) ก็ได้ ทั้งนี้ หลักทรัพย์ที่ซื้อจากการทําคําเสนอซื้อบางส่วนต้องมิใช่หลักทรัพย์ของบุคคลตามมาตรา 258 ของผู้ทําคําเสนอซื้อ ข้อ ๕๓ ห้ามมิให้ผู้ทําคําเสนอซื้อที่ได้รับการผ่อนผันให้ทําคําเสนอซื้อหุ้นบางส่วนของกิจการตามหมวดนี้ ซื้อหรือกระทําการอื่นใดในระหว่างระยะเวลาหกเดือนนับแต่วันสิ้นสุด ระยะเวลารับซื้อ อันเป็นผลให้ได้หุ้นของกิจการเพิ่มขึ้น เว้นแต่เป็นการได้มาในกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) การได้มาโดยเข้ากรณีที่ได้รับยกเว้นการทําคําเสนอซื้อตามข้อ 9 (2) การซื้อหุ้นที่ออกใหม่ (3) การได้มาในลักษณะอื่นใดที่สํานักงานพิจารณาเห็นว่ามีเหตุจําเป็นและสมควร และมิได้ขัดต่อเจตนารมณ์ของข้อกําหนดนี้ หมวด ๖ การทําคําเสนอซื้อเพื่อเพิกถอนหลักทรัพย์ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๕๔ การทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่าด้วยการเพิกถอนหุ้นออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ให้เป็นไปตามข้อกําหนดในหมวดนี้ รวมทั้งข้อกําหนดในหมวด 4 โดยอนุโลม เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับหมวดนี้ ข้อ ๕๕ ผู้ทําคําเสนอซื้อตามหมวดนี้ ต้องกําหนดราคาเสนอซื้ออย่างน้อยหนึ่งทางเลือกเป็นตัวเงิน เว้นแต่การทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์นั้นเป็นไปเพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนตามประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่พร้อมกับการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์เดิมของบริษัทจดทะเบียนเพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ ข้อ ๕๖ ราคาเสนอซื้อหุ้นตามคําเสนอซื้อในหมวดนี้ ต้องไม่ต่ํากว่าราคาสูงสุดของราคาที่คํานวณตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ราคาสูงสุดที่ผู้ทําคําเสนอซื้อหรือบุคคลตามมาตรา 258 ของผู้ทําคําเสนอซื้อ ได้หุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธินั้นมาในระหว่างระยะเวลาเก้าสิบวันก่อนวันที่ยื่นคําเสนอซื้อต่อสํานักงาน (2) ราคาตลาดถัวเฉลี่ยถ่วงน้ําหนักของหุ้นนั้นในระหว่างห้าวันทําการก่อนวันที่คณะกรรมการของกิจการมีมติเพื่อเสนอให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นพิจารณาการเพิกถอนหุ้น หรือวันที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการมีมติให้เพิกถอนหุ้นออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แล้วแต่วันใดจะเกิดก่อน (3) มูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกิจการ โดยคํานวณจากมูลค่าทางบัญชีที่ปรับปรุงให้สะท้อนราคาตลาดล่าสุดของสินทรัพย์และหนี้สินของกิจการนั้นแล้ว และ (4) มูลค่ายุติธรรมของหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิของกิจการซึ่งประเมินโดยที่ปรึกษาทางการเงิ ข้อ ๕๗ ผู้ทําคําเสนอซื้อตามหมวดนี้ หากประสงค์จะลดราคาเสนอซื้อเนื่องจากเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงต่อกิจการตามข้อ 45(1) ต้องยื่นคําขอความเห็นชอบต่อคณะอนุกรรมการวินิจฉัยการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการผ่านสํานักงาน และผู้ทําคําเสนอซื้อจะลดราคาเสนอซื้อได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการดังกล่าวแล้ว ทั้งนี้ ผู้ทําคําเสนอซื้อต้องจัดให้มีที่ปรึกษาทางการเงินแสดงความเห็นต่อราคาเสนอซื้อใหม่ดังกล่าวเพื่อเสนอประกอบการพิจารณาของคณะอนุกรรมการวินิจฉัยการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการด้วย ข้อ ๕๘ ผู้ทําคําเสนอซื้อตามหมวดนี้ อาจยกเลิกคําเสนอซื้อได้ในกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) มีเหตุการณ์หรือการกระทําใด ๆ เกิดขึ้นภายหลังจากยื่นคําเสนอซื้อต่อสํานักงานและยังไม่พ้นระยะเวลารับซื้อ อันเป็นเหตุหรืออาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อฐานะหรือทรัพย์สินของกิจการที่ถูกเสนอซื้อ โดยเหตุการณ์หรือการกระทําดังกล่าวมิได้เกิดจากการกระทําของผู้ทําคําเสนอซื้อหรือการกระทําที่ผู้ทําคําเสนอซื้อต้องรับผิดชอบ (2) มีเหตุการณ์อื่นใดที่ทําให้การขอเพิกถอนหุ้นออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ระงับไป การใช้สิทธิยกเลิกคําเสนอซื้อตามวรรคหนึ่งจะกระทําได้ต่อเมื่อผู้ทําคําเสนอซื้อได้ระบุเหตุแห่งการใช้สิทธิดังกล่าวไว้อย่างชัดเจนแล้วในคําเสนอซื้อ และเมื่อเกิดเหตุแห่งการใช้สิทธินั้นผู้ทําคําเสนอซื้อได้แจ้งข้อเท็จจริงดังกล่าวให้สํานักงานทราบ และสํานักงานมิได้แจ้งทักท้วงเหตุแห่งการยกเลิกดังกล่าวต่อผู้ทําคําเสนอซื้อภายในสามวันทําการนับแต่วันที่สํานักงานได้รับแจ้งเหตุนั้น หมวด ๗ อื่น ๆ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๕๙ ให้ผู้ทําคําเสนอซื้อสามารถทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ได้อีกแม้จะไม่พ้นระยะเวลาหนึ่งปีนับแต่วันสิ้นสุดระยะเวลารับซื้อที่กําหนดไว้ในคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ครั้งก่อน ในกรณีที่เป็นการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์เพื่อให้เป็นไปตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่าด้วยการเพิกถอนหุ้นออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่ผู้ทําคําเสนอซื้อได้ระบุไว้อย่างชัดเจนในคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ครั้งก่อนว่าผู้ทําคําเสนอซื้อมีความประสงค์จะเพิกถอนหุ้นจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน ข้อ ๖๐ ในกรณีที่ปรากฏว่าคําเสนอซื้อมีข้อมูลไม่เป็นไปตามที่กําหนดในข้อ 19 ให้ผู้ทําคําเสนอซื้อและผู้จัดเตรียมคําเสนอซื้อแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อมูล เพื่อให้เป็นไปตามที่กําหนดในข้อ 19 ในการนี้ สํานักงานอาจสั่งการให้ผู้ทําคําเสนอซื้อดําเนินการเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวไปยังบุคคลที่เกี่ยวข้องภายในระยะเวลาและตามวิธีการที่กําหนด และในกรณีที่มีเหตุอันสมควร สํานักงานอาจสั่งการให้ผู้ทําคําเสนอซื้อขยายระยะเวลารับซื้อหลักทรัพย์หรือขยายระยะเวลาที่ยินยอมให้ผู้แสดงเจตนาขายหลักทรัพย์ยกเลิกการแสดงเจตนาด้วยก็ได้ ข้อ ๖๑ นอกจากที่ได้กําหนดไว้เป็นการเฉพาะในประกาศนี้ ให้คณะอนุกรรมการวินิจฉัยการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการมีอํานาจวินิจฉัยในเรื่องดังต่อไปนี้ และมีอํานาจสั่งให้หยุดการนับระยะเวลารับซื้อหลักทรัพย์ตามคําเสนอซื้อนั้นไว้เป็นการชั่วคราวจนกว่าผลการพิจารณจะแล้วเสร็จก็ได้ (1) กรณีที่มีข้อสงสัยว่าราคาเสนอซื้อหลักทรัพย์ตามคําเสนอซื้อใดเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดตามประกาศนี้หรือไม่ (2) กรณีที่ผู้ทําคําเสนอซื้อเพื่อเพิกถอนหลักทรัพย์ตามหมวด 6 ประสงค์จะลดราคาเสนอซื้อ เนื่องจากเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงต่อกิจการตามข้อ 45(1) ข้อ ๖๒ แบบรายงานที่ต้องยื่นต่อสํานักงานตามที่กําหนดไว้ในประกาศนี้ ให้มีรูปแบบและรายละเอียดตามที่สํานักงานประกาศกําหนด ข้อ ๖๓ ให้บุคคลที่ได้ยื่นรายงานหรือข้อมูลดังต่อไปนี้ต่อสํานักงานในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์ ส่งรายงานหรือข้อมูลดังกล่าวต่อสํานักงานในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบการรับส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามที่กําหนดไว้บนเว็บไซต์ของสํานักงานด้วย 1.การประกาศเจตนาในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ ตามแบบ 247-3 2.การยื่นคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ ตามแบบ 247-4 3.การประกาศปฏิเสธการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ ตามแบบ 247-5 4.การประกาศขยายระยะเวลารับซื้อ การประกาศแก้ไขข้อเสนอในคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ การประกาศข้อเสนอสุดท้าย หรือการประกาศระยะเวลารับซื้อสุดท้าย ตามแบบ 247-6-ก 5.การรายงานผลการเสนอซื้อหลักทรัพย์เบื้องต้น ตามแบบ 247-6-ข 6.การรายงานผลการซื้อหลักทรัพย์ ตามแบบ 256-2 7.การแจ้งยกเลิกคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ ตามข้อ 47(1) รายงานหรือข้อมูลที่ยื่นต่อสํานักงานทั้งในรูปเอกสารสิ่งพิมพ์และข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต้องมีข้อความถูกต้องตรงกัน และต้องไม่มีการแสดงข้อความอันเป็นเท็จในสาระสําคัญ หรือปกปิดข้อความจริงอันเป็นสาระสําคัญที่ควรบอกให้แจ้ง หมวด ๘ บทเฉพาะกาลและวันมีผลใช้บังคับของประกาศ \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ ข้อ ๖๔ ให้บรรดาประกาศสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ คําสั่ง และหนังสือเวียน ที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กก. 4/2538 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ ลงวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2538 และประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 53/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดแห่งประกาศนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศ คําสั่ง และหนังสือเวียนที่ออกหรือวางแนวปฏิบัติตามประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ ๖๕ ในกรณีที่มีประกาศฉบับอื่นใดอ้างอิงประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กก. 4/2538 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ ลงวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2538 และประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 53/2545 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 ให้การอ้างอิงดังกล่าวหมายถึงการอ้างอิงประกาศฉบับนี้ ข้อ ๖๖ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 (นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน หมายเหตุ - : เหตุผลในการออกประกาศฉบับนี้ คือ เพื่อปรับปรุงข้อกําหนดเกี่ยวกับการประกาศต่อสาธารณชน การยกเว้นการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการในกรณีลดสัดส่วนการถือหุ้นในกิจการให้ต่ํากว่าจุดที่ต้องทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ และข้อบังคับหลังการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์ รวมทั้งปรับรูปแบบและถ้อยคําให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และประกาศฉบับอื่น จึงจําเป็นต้องออกประกาศนี้
0
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 31/2554 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการ (ฉบับที่ 2 )
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 31 /2554 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเข้าถือหลักทรัพย์ เพื่อครอบงํากิจการ (ฉบับที่ 2 ) ------------------------ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 247 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4 ) พ.ศ. 2551 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 44 และมาตรา 64 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกข้อกําหนดไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 35/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ.12/2554 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ ลงวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 “ข้อ 35/1 การกําหนดราคาเสนอซื้อหุ้นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 36 ข้อ 37 ข้อ 38 ข้อ 39 และข้อ 40 แล้วแต่กรณี เว้นแต่เป็นการกําหนดราคาเสนอซื้อหุ้นในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ทําคําเสนอซื้อไม่ได้ยื่นคําเสนอซื้อภายในระยะเวลาที่กําหนดหรือที่สํานักงานผ่อนผันให้ยื่นคําเสนอซื้อตามข้อ 17 ให้เป็นไปตามข้อ 40/1 หรือข้อ 40/2” ข้อ ๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 40/1 และข้อ 40/2 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ.12/2554 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ ลงวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 “ข้อ 40/1 ในกรณีเป็นการยื่นคําเสนอซื้อหลังพ้นระยะเวลาที่กําหนดหรือที่สํานักงานผ่อนผันให้ยื่นคําเสนอซื้อตามข้อ 17 ราคาเสนอซื้อหุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธิต้องไม่ต่ํากว่าราคาสูงสุดระหว่าง (1) ราคาตลาดถัวเฉลี่ยถ่วงน้ําหนักของหุ้นประเภทนั้นในระหว่างห้าวันทําการก่อนวันที่ยื่นคําเสนอซื้อต่อสํานักงาน และ (2) ราคาเสนอซื้อหุ้นตามปกติบวกด้วยเงินเพิ่มเนื่องจากการทําคําเสนอซื้อล่าช้า โดย (ก) ราคาเสนอซื้อหุ้นตามปกติ ให้ใช้ราคาเสนอซื้อหุ้นประเภทนั้น หากผู้ทําคําเสนอซื้อได้ยื่นคําเสนอซื้อภายในระยะเวลาที่กําหนดหรือที่ได้รับผ่อนผันจากสํานักงานตามข้อ 17 ทั้งนี้ เมื่อคํานวณตามหลักเกณฑ์ในข้อ 36 ข้อ 37 ข้อ 38 หรือข้อ 39 แล้วแต่กรณี (ข) เงินเพิ่มเนื่องจากการทําคําเสนอซื้อล่าช้า ให้คํานวณตามหลักเกณฑ์ดังนี้ ราคาเสนอซื้อหุ้นตามปกติ X อัตราดอกเบี้ย MLR X ระยะเวลาที่ไม่ได้ทําคําเสนอซื้อ 365 เพื่อประโยชน์ตามวรรคหนึ่ง (2) (ข) “อัตราดอกเบี้ย MLR” หมายความว่า อัตราดอกเบี้ยโดยเฉลี่ยของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบมีระยะเวลาที่ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่สี่อันดับแรกเรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี “ระยะเวลาที่ไม่ได้ทําคําเสนอซื้อ” หมายความว่า ระยะเวลาตั้งแต่วันพ้นกําหนดเวลาต้องยื่นคําเสนอซื้อหรือพ้นกําหนดเวลาที่สํานักงานผ่อนผันตามข้อ 17 จนถึงวันที่ยื่นคําเสนอซื้อตามข้อนี้ ให้นําเหตุในการปรับราคาหุ้นตามข้อ 40 มาใช้บังคับกับการปรับราคาเสนอซื้อหุ้นตามวรรคหนึ่ง โดยอนุโลม ทั้งนี้ ผู้มีหน้าที่ทําคําเสนอซื้อต้องแสดงรายละเอียดการปรับราคาดังกล่าวไว้ในแบบ 247-4 ด้วย ข้อ 40/2 ในกรณีที่มีเหตุที่ทําให้เห็นได้ว่าราคาเสนอซื้อที่ได้จากการคํานวณตามข้อ 40/1 ไม่เป็นธรรมกับผู้มีหน้าที่ทําคําเสนอซื้อ ผู้มีหน้าที่ทําคําเสนอซื้ออาจยื่นคําขอให้คณะอนุกรรมการวินิจฉัยการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการพิจารณาผ่อนผันให้กําหนดราคาเสนอซื้อเป็นประการอื่นได้ ทั้งนี้ ในการพิจารณาผ่อนผัน ให้คณะอนุกรรมการวินิจฉัยการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการคํานึงถึงความเหมาะสมของราคาเสนอซื้อที่เป็นธรรมต่อผู้มีหน้าที่ทําคําเสนอซื้อและผู้ถือหุ้น ให้นําหลักเกณฑ์ในวรรคสองของข้อ 44 มาใช้บังคับกับการยื่นคําขอให้คณะอนุกรรมการวินิจฉัยการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการพิจารณาผ่อนผันตามวรรคหนึ่งด้วย” ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 41 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ.12/2554 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ ลงวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 “ในกรณีเป็นการยื่นคําเสนอซื้อหลังพ้นระยะเวลาที่กําหนดหรือที่สํานักงานผ่อนผัน ให้ยื่นคําเสนอซื้อตามข้อ 17 ให้ใช้ราคาเสนอซื้อหุ้นตามข้อ 40/1 หรือราคาที่ได้รับผ่อนผันตามข้อ 40/2 เป็นราคาที่ใช้คํานวณตามวรรคหนึ่ง (2)” ข้อ ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ 42 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ.12/2554 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ ลงวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 “ในกรณีเป็นการยื่นคําเสนอซื้อหลังพ้นระยะเวลาที่กําหนดหรือที่สํานักงานผ่อนผัน ให้ยื่นคําเสนอซื้อตามข้อ 17 ให้ใช้ราคาเสนอซื้อหุ้นตามข้อ 40/1 หรือราคาที่ได้รับผ่อนผันตามข้อ 40/2 เป็นราคาที่ใช้คํานวณตามวรรคหนึ่ง (2)” ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - เป็นต้นไปประกาศ ณ วันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554 (นายชาลี จันทนยิ่งยง) รองเลขาธิการ รักษาการ เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
1
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทก. 50/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการ (ฉบับที่ 3)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทก. 50/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเข้าถือหลักทรัพย์ เพื่อครอบงํากิจการ (ฉบับที่ 3) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 247 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และมาตรา 248 มาตรา 255 และมาตรา 256 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในบทนิยามคําว่า “กิจการ” ในข้อ 1 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2554 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ ลงวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ““กิจการ” หมายความว่า บริษัทที่มีหุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ซึ่งมีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) บริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย (2) บริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้ (ก) บริษัทที่เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นการทั่วไปครั้งแรก (initial public offering) เพื่อการจดทะเบียนหุ้นนั้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยบริษัทดังกล่าวไม่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ทั้งนี้ ในกรณีที่บริษัทเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่เป็นครั้งแรกในหลายประเทศ ให้หมายความถึงเฉพาะบริษัทที่แสดงเจตนาผูกพันว่าจะปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์หรือสํานักงานเป็นหลัก (ข) บริษัทที่มีหุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และไม่มีหุ้นเป็นหลักทรัพย์ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ 36 และข้อ 37 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2554 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ ลงวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 36 เว้นแต่กรณีตามข้อ 37 ราคาเสนอซื้อหุ้นแต่ละประเภทต้องไม่ต่ํากว่าราคาสูงสุดที่บุคคลดังต่อไปนี้ ได้หุ้นประเภทนั้นมาในระหว่างระยะเวลาเก้าสิบวันก่อนวันที่ยื่นคําเสนอซื้อต่อสํานักงาน (1) ผู้ทําคําเสนอซื้อ (2) บุคคลตามมาตรา 258 ของผู้ทําคําเสนอซื้อ (3) บุคคลที่กระทําการร่วมกัน (concert party) กับผู้ทําคําเสนอซื้อ (4) บุคคลตามมาตรา 258 ของบุคคลตาม (3) ในกรณีที่บุคคลตามวรรคหนึ่งได้หุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิประเภทใดประเภทหนึ่งประเภทเดียวมาในระหว่างระยะเวลาเก้าสิบวันก่อนวันที่ยื่นคําเสนอซื้อต่อสํานักงาน ราคาเสนอซื้อหุ้นประเภทที่ไม่มีการได้มานั้นต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่หุ้นประเภทและรุ่นที่ไม่มีการได้มานั้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ราคาเสนอซื้อต้องไม่ต่ํากว่าราคาสูงสุดระหว่าง (ก) ราคาตลาดถัวเฉลี่ยถ่วงน้ําหนักของหุ้นประเภทที่ไม่มีการได้มานั้น ในระหว่างห้าวันทําการล่าสุดก่อนวันที่ได้หุ้นอีกประเภทหนึ่งมา ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการได้หุ้นอีกประเภทหนึ่งมาหลายครั้งในระหว่างระยะเวลาเก้าสิบวันก่อนวันที่ยื่นคําเสนอซื้อต่อสํานักงาน ให้ใช้ราคาตลาดถัวเฉลี่ยถ่วงน้ําหนักของช่วงระยะเวลาห้าวันทําการล่าสุดก่อนวันที่ได้หุ้นอีกประเภทหนึ่งนั้นมาในราคาสูงสุด และ (ข) มูลค่ายุติธรรมของหุ้นประเภทที่ไม่มีการได้มานั้น ซึ่งประเมินโดยที่ปรึกษาทางการเงิน (2) กรณีอื่นนอกจาก (1) ให้ใช้ราคาตาม (1) (ข) เพื่อประโยชน์ตามความในวรรคหนึ่ง บุคคลที่กระทําการร่วมกัน (concert party) หมายความถึง บุคคลซึ่งมีเจตนาและพฤติกรรมหรือความสัมพันธ์ในลักษณะตามที่กําหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุนว่าด้วยกําหนดลักษณะความสัมพันธ์หรือพฤติกรรมที่เข้าลักษณะเป็นการกระทําร่วมกับบุคคลอื่น และการปฏิบัติการตามมาตรา 246 และมาตรา 247 ข้อ 37 ในกรณีที่เป็นการทําคําเสนอซื้อเนื่องจากการครอบงํากิจการผ่านนิติบุคคลอื่นตามข้อ 6 ราคาเสนอซื้อหุ้นต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (1) ในกรณีที่บุคคลตามข้อ 36 วรรคหนึ่งไม่มีการได้มาซึ่งหุ้นของกิจการในระหว่างระยะเวลาเก้าสิบวันก่อนวันที่ยื่นคําเสนอซื้อต่อสํานักงาน ราคาเสนอซื้อหุ้นต้องไม่ต่ํากว่าต้นทุนการได้มาซึ่งอํานาจครอบงํากิจการนั้นผ่านนิติบุคคลอื่น ทั้งนี้ ให้สํานักงานมีอํานาจประกาศกําหนดหลักเกณฑ์การคํานวณต้นทุนการได้มาซึ่งอํานาจครอบงํากิจการในลักษณะดังกล่าวได้ (2) ในกรณีที่บุคคลตามข้อ 36 วรรคหนึ่งได้หุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิของกิจการมาในระหว่างระยะเวลาเก้าสิบวันก่อนวันที่ยื่นคําเสนอซื้อต่อสํานักงาน (ก) ราคาเสนอซื้อหุ้นประเภทที่ได้มานั้นต้องไม่ต่ํากว่าราคาสูงสุดระหว่าง 1. ต้นทุนการได้มาซึ่งอํานาจครอบงํากิจการนั้นผ่านนิติบุคคลอื่นตามหลักเกณฑ์การคํานวณที่สํานักงานกําหนดตาม (1) และ 2. ราคาสูงสุดที่บุคคลตามข้อ 36 วรรคหนึ่งได้หุ้นประเภทนั้นมาในระหว่างระยะเวลาเก้าสิบวันก่อนวันที่ยื่นคําเสนอซื้อต่อสํานักงาน (ข) ราคาเสนอซื้อหุ้นประเภทที่ไม่มีการได้มานั้น ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดตามข้อ 36 วรรคสอง โดยอนุโลม” ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความใน (4) ของข้อ 56 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2554 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ ลงวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(4) มูลค่ายุติธรรมของหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิของกิจการซึ่งประเมินโดยที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ” ข้อ ๔ ในกรณีที่ผู้ทําคําเสนอซื้อแต่งตั้งที่ปรึกษาทางการเงินเพื่อทําหน้าที่ประเมินมูลค่ายุติธรรมของหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิของกิจการในการทําคําเสนอซื้อหลักทรัพย์เพื่อเพิกถอนหุ้นออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ตามข้อ 56(4) แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2554 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ ลงวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ก่อนการแก้ไขโดยประกาศฉบับนี้ ให้ถือว่ามูลค่ายุติธรรมของหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิของกิจการที่ประเมินโดยที่ปรึกษาทางการเงินดังกล่าวเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในข้อ 56(4) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศฉบับนี้แล้ว ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2559 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
2
ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทก. 38/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการ (ฉบับที่ 4)
ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทก. 38/2561 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเข้าถือหลักทรัพย์ เพื่อครอบงํากิจการ (ฉบับที่ 4) \_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_\_ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 16/6 และมาตรา 247 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 คณะกรรมการกํากับตลาดทุนออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (5) ในข้อ 9 แห่งประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2554 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงํากิจการ ลงวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 “(5) การได้มาเนื่องจากการปรับโครงสร้างการถือหุ้นของกิจการที่เข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ (ก) บุคคลที่ได้หุ้นของกิจการเป็นผู้มีอํานาจควบคุมเบ็ดเสร็จเหนือหุ้นของกิจการ ก่อนการได้มาซึ่งหุ้นดังกล่าว (ข) บุคคลที่ได้หุ้นของกิจการอยู่ภายใต้อํานาจควบคุมเบ็ดเสร็จของผู้มีอํานาจควบคุมเบ็ดเสร็จเหนือหุ้นของกิจการ ก่อนการได้มาซึ่งหุ้นดังกล่าว เพื่อประโยชน์ตามความในวรรคหนึ่ง “อํานาจควบคุมเบ็ดเสร็จ” หมายความถึง การมีอํานาจตัดสินใจหรือสั่งการในการใช้สิทธิออกเสียงในหุ้นของกิจการ หรือในนิติบุคคลใดไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ทั้งนี้ การมีอํานาจตัดสินใจหรือสั่งการโดยทางอ้อมรวมถึงกรณีที่มีการถือหุ้นของกิจการหรือนิติบุคคลใดผ่านนิติบุคคลอื่น ซึ่งต้องมีการถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละเก้าสิบของสิทธิออกเสียงทั้งหมดของนิติบุคคลที่ถูกถือหุ้น และหากมีการถือหุ้นผ่านนิติบุคคลหลายทอด การถือหุ้นในนิติบุคคลแต่ละทอดต้องไม่น้อยกว่าร้อยละเก้าสิบของสิทธิออกเสียงของนิติบุคคลที่ถูกถือหุ้นนั้น” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้มีอํานาจลงนาม - ประกาศ ณ วันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2561 (นายรพี สุจริตกุล) เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประธานกรรมการ คณะกรรมการกํากับตลาดทุน
3
"ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ท(...TRUNCATED)
"ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน\n\nที(...TRUNCATED)
4
"ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ท(...TRUNCATED)
"ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน\n\nที(...TRUNCATED)
5
"ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ท(...TRUNCATED)
"ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน\n\nที(...TRUNCATED)
6
"ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนที่ ท(...TRUNCATED)
"ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน\n\nที(...TRUNCATED)
7
"ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ท(...TRUNCATED)
"ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน\n\nที(...TRUNCATED)
8
"ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ท(...TRUNCATED)
"ประกาศคณะกรรมการกํากับตลาดทุน\n\nที(...TRUNCATED)
9

Dataset Card for "ThaiLaw v1.0"

English

Thai Law Dataset (Act of Parliament) v1.0

Thai

คลังข้อมูลกฎหมายไทย (พระราชบัญญัติ) รุ่น 1.0

  • ข้อมูลเก็บรวบรวมมาจากเว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา https://www.krisdika.go.th/ และ law.go.th
  • โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งในแผนพัฒนา PyThaiNLP
  • ข้อมูลที่รวบรวมในคลังข้อความนี้เป็นสาธารณสมบัติ (public domain) ตามพ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 7 (สิ่งต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ (1) ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่างๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสารอันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ [...] (3) ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือตอบโต้ของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น [...])

Citations

If you use ThaiLaw in your project or publication, please cite the dataset as follows:

@misc{thailaw,
  doi = {10.5281/ZENODO.10701494},
  url = {https://zenodo.org/doi/10.5281/zenodo.10701494},
  author = {Phatthiyaphaibun,  Wannaphong},
  language = {th},
  title = {ThaiLaw: Thai Law Dataset},
  publisher = {Zenodo},
  year = {2024},
  copyright = {Creative Commons Zero v1.0 Universal}
}

Zenodo: https://zenodo.org/records/10701494

Downloads last month
42

Collection including pythainlp/thailaw-v1.0